บุญเดือนห้า หรือ บุญฮดสรง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ โดยถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยในสมัยโบราณ

ตามธรรมเนียมประเพณีของอีสาน เมื่อถึงเดือนห้า จะมีพิธีหรือมีบุญประเพณีเพื่อเป็นสิริมงคลคือ “บุญฮดสรง

บุญเดือนห้า หรือ บุญฮดสรง บ้างก็เรียก บุญรดน้ำ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญสงกรานต์ มีบางจังหวัดที่ใกล้เคียงกับประเทศกัมพูชา จะออกเสียงเรียกวันสงกรานต์ตามภาษาเขมรว่า ตรดสงกรานต์ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ โดยถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยในสมัยโบราณ ดังที่ปรากฏในบทผญาเกี่ยวกับบุญเดือนห้าว่า

ตกฤดูเดือนห้าสายลมบ่มาผ่าน เห็นดอกจานเพิ่นแย้มบานเย้ยท้องนา

เดือนห้านี้บ่ได้ช้าปีใหม่มาเถิง ให้พากันทำบุญปล่อยปลาลงน้ำ

เต่าสิถามหาบุ้นคนใจบุญสิมาปล่อย นกสิงอยง่าไม้คอยท่าตั้งแต่ฝน

เดือนนี้ม่วนจ้นๆ คนกะหลั่งมาหลาย หาเอาทรายมากองก่อเจดีย์ไว้

พิธีการทำบุญตรุษสงกรานต์ นอกจากจะมีการสรงน้ำพระแล้ว ยังมีการสรงน้ำหรือรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่ ผู้เป็นเจ้าบ้านเจ้าเมือง ผู้ที่เป็นผู้ที่สูงชาติกำเนิด ผู้ที่มีอุปการคุณ เช่น พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย เป็นต้น ซึ่งถือว่าเป็นการรดน้ำดำหัวเพื่อขอพรให้ลูกหลานได้อยู่ชุ่มกินเย็น นอกจากการสรงน้ำพระและรดน้ำดำหัวผู้หลักผู้ใหญ่แล้ว ยังมีการสรงน้ำเครื่องค้ำของคูณต่าง ๆ เช่น คุด เขา นอ งา แข้วหมูตัน จันทคาด เป็นต้น ซึ่งเป็นเครื่องค้ำของคูณเหล่านี้ถ้ามีอยู่บ้านใดเรือนใด จะทำให้เจ้าของนั้นเรีอนอุดมสมบูรณ์ด้วยข้าวของเงินทอง ในเทศกาลเช่นนี้ให้นำเอาเครื่องค้ำของคูณเหล่านั้นออกมาสรง จะทำให้ผู้ที่เป็นเจ้าของมีความสุขความเจริญสมบูรณ์บริบูรณ์ด้วยข้าวของเงินทอง

บุญเดือนห้า หรือ บุญฮดสรง นิยมทำบุญตักบาตร ก่อเจดีย์ทราย ขนทรายเข้าวัด สรงน้ำพระและผู้อาวุโสอันเป็นการแสดงความเคารพและความกตัญญู เพื่อความเป็นสิริมงคล

นอกจากนี้ยังมีการขนทรายเข้าวัดก่อเจดีย์ทราย หรือชาวอิสานเรียกกันว่า "พระทราย" คือทรายที่ก่อเป็นกองแล้วเอาธงผ้าธงกระดาษไปปักไว้บนยอดและรอบๆ โบราณอิสานเรียกว่า "กองประทาย" บ้าง เรียกว่า "กองประทราย" บ้าง หรือจะเรียกให้ตรงกับคำบาลีว่า "วาลุกเจติยํ" ซึ่งแปลว่า เจดีย์ทราย ซึ่งก็ได้แก่กองพระทรายนั่นเอง

มูลเหตุของการก่อเจดีย์ทรายนั้น มีเรื่องเล่าในหนังสือธรรมบทว่า ครั้งหนึ่ง พระเจ้าปเสนทิโกศลเสด็จไปถึงหาดทรายริมฝั่งแม่น้ำใกล้เมืองพระองค์ได้ทอดพระเนตรเห็นทรายขาวบริสุทธิ์ผุดผ่อง และมีจิตใจเลื่อมใสในพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ จึงได้กวาดเอาทรายมากองบูชาพระรัตนตรัยนับได้ ๘๔,๐๐๐ กอง เท่ากับจำนวนที่เกี่ยวกับหมวดธรรมที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงไว้ ตลอดช่วงที่บำเพ็ญพุทธกิจ ๔๕ พรรษา ครั้นแล้วจึงได้เสด็จไปทูลถามพระพุทธเจ้าถึงอานิสงฆ์ของการก่อเจดีญ์ทรายถึง ๘๔,๐๐๐ องค์ หรือเจดีย์ทรายเพียงองค์เดียวก็ได้อานิสงส์มาก คือจะไม่ตกนรกหลายร้อยชาติ ถ้าเกิดเป็นมนุษย์ก็จะเกิดเป็นมนุษย์สมบัติเพรียบพร้อมไปด้วยยศศักดี์บริวาร มีเกียจชื่อเสียงขจรไปทั่วทิศานุทิศ ครั้นตายไปจะประสบสวรรค์สมบัติมีนางฟ้าเป็นบริวาร โดยอาศัยเหตุที่การก่อเจดีย์ทรายมีอานิสงส์มาก คนอิสานโบรานจึงนิยมก่อพระทราย หรือเจดีย์ทรายเป็นประเพณีจนทุกวันนี้

ประเพณีในการทำบุญอีกอย่างหนึ่งเทศกาลนี้ คือ การปล่อยสัตว์ เช่น นก ปู ปลา หอย เต่า เหล่านี้เป็นที่นิยมปล่อยกัน จนกระทั่งได้ปรากฏไว้ในบทผญาประจำเดือนที่ได้กล่าวแล้วข้างต้น เพราะถือว่าการไถ่ถอนสัตว์อื่นนั้นมีบุญมาก เป็นการปลดเปลื้องสัตว์ให้พ้นทุกข์ในเหศกาลเดือนห้านี้ด้วย

ข้อควรปฏิบัติ

ปฏิบัติธรรมสืบสานเจตนารมณ์พระเดชพระคุณคุณูปมาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ธ) และรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร โดย ท่าน อ.ลักษณ์ พุทธธรรม (ธ)

นอบน้อม เชิดชู ปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ทุกๆ พระองค์

สถานที่นี้เป็นสถานที่สงบ ฝึกใจ ฝึกตน หากใจยังสกปรกจงกลับไปยังที่ของท่านเถอะ

สถานที่นี้เป็นที่เจริญ มรรคมีองค์ ๘ พรหมวิหาร ๔ เพื่อความหลุดพ้น

สถานที่นี้ ไม่รับเจิม ดูดวง ประกอบพิธีกรรมทางโลกทุกกรณี

ติดต่อเรา

๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. เวลาพักผ่อนของท่านอาจารย์ ห้ามรบกวนโดยเด็ดขาด

๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. เวลาที่ศิษยานุศิษย์และญาติธรรม สามารถเข้าพบและสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ได้ตามเหมาะสม

ศาลาภิรมย์ธรรม ๘๕/๑ ม.๓ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๖๐

norkaewplace@gmail.com

ห้ามบุคคลภายนอก เข้าเขตหน่อแก้วยามวิกาล ในทุกกรณี

ห้ามศิษยานุศิษย์นำสิ่งเสพติดทุกชนิด เข้ามาภายในหน่อแก้วสถาน

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์ อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา