ตามอรรถกถา นิยมเรียกนามบัญญัติแทนพระยาวสวัตตี ว่าเป็นมาร ที่ชอบมาผจญผู้ที่กระทำความดี แต่โดยนัยยะแล้วท่านไม่ใช่มาร แต่เป็นเทพชั้นผู้ใหญ่ มีหน้าที่ทดสอบความมุ่งมั่นของบุคคลว่าแน่วแน่ต่อจุดมุ่งหมายนั้นหรือไม่ นั้นเอง และท่านยังมีหน้าที่ต้องอาราธนาพระอริยบุคคลให้ละสังขาร อีกด้วย (ในภาพ) พระยาวสวัตตี ทูลอาราธนาพระโคตมพุทธเจ้า ให้เสด็จดับขันธปรินิพพาน
ในวันเพ็ญขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ นอกจากจะเป็นวันมาฆบูชา แล้วยังเป็นวันคล้ายวันที่พระพุทธองค์ทรงปลงพระชนมายุสังขาร ในพรรษาที่ ๔๕ พรรษาสุดท้ายแห่งการดำเนินพุทธกิจ ขณะที่ทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่เวฬุวคาม แขวงเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี
จิตรกรรมฝาผนังที่วัดเชตวันมหาวิหาร เมืองสาวัตถี ประเทศอินเดีย (ในภาพ) การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งแรก หรือปฐมสังคายนา (First Buddhist council) ณ ถ้ำสัตตบรรณคูหา (The Sattapani Cave) ข้างเขาเวภารบรรพต ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ โดยมีพระมหากัสสปเถระ เป็นประธานสงฆ์
การสังคายนา หมายถึง การร้อยกรองหรือรวบรวมพระธรรมวินัยอันเป็นคำสั่งสอนขององค์พระสัมมาสัมพระพุทธเจ้า ซึ่งกระจัดกระจายกันอยู่ให้อยู่ในหมวดหมู่เดียวกัน มีระบบเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน โดยมีการประชุมสงฆ์ดำเนินการรวบรวมจัดหมวดหมู่ จัดระบบให้เป็นที่เรียบร้อย แล้วมีการสวดซักซ้อมหรือสวดพร้อมกันและเป็นแบบเดียวกัน เป็นการตรวจสอบความถูกต้องสมบูรณ์แห่งพระธรรมวินัย และลงมติรับรองกันไว้เป็นหลักฐานสำคัญ แล้วมีการท่องจำ จดจำ หรือจารึกไว้สืบต่อมา
ปริวาส เป็นชื่อของสังฆกรรม ประเภทหนึ่งที่สงฆ์จะพึงกระทำ ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งการอยู่ปริวาสเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าการอยู่กรรม จึงนิยมเรียกรวมกันว่าปริวาสกรรม
ปริวาส หมายถึงการอยู่ใช้ หรือการอยู่รอบ หรือเรียกสามัญว่าการอยู่กรรม (วุฏฐานวิธี) คืออยู่ให้ครบกระบวนการ สิ้นสุดกรรมวิธีทุกขั้นตอนของการอยู่ปริวาสกรรม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อยู่ใช้กรรมหรือความผิดที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัยต้องอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งอาจจะล่วงละเมิดโดยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจล่วงละเมิดโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดีนั้น ให้พ้นมลทิน หมดจดบริสุทธิ์ไม่มีเหลือเครื่องเศร้าหมองอันจะเป็นอุปสรรคในการประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญในทางจิตของพระภิกษุสงฆ์
จิตรกรรมฝาผนัง ที่วัดป่าเลไลยก์วรวิหาร จังหวัดสุพรรณบุรี เรื่องขุนช้างขุนแผน (ในภาพ) นางพิมพิลาไลย เปลื้องผ้าสไบบูชากัณฑ์เทศน์ หลังจากเณรพลายแก้ว (ต่อมาคือขุนแผน ) เทศน์กัณฑ์มัทรี จบ
การเทศน์มหาชาติ พุทธศาสนิกชนชาวไทยสืบทอดเป็นประเพณีกันมาช้านาน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตแบบไทยๆ เพราะเป็นประเพณีที่ให้ทั้งความสนุกสนาน สร้างความสมานสามัคคีในชุมชน และสอดแทรกการอบรมสั่งสอนศีลธรรมคุณธรรมแก่ประชาชนผู้ร่วมกิจกรรมไปพร้อมกัน
เรื่องที่นำมาใช้ในการเทศน์มหาชาติ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดร อันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ภายหลังออกบวชจนได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระโคตมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในกาลปัจจุบันนั้นเอง
รูวันเวลิสเซยาสถูป (อังกฤษ: Ruwanwelisaya Stupa) มหาสถูปทรงโอคว่ำในเมืองอนุราธปุระ (อังกฤษ: Anuradhapura) ประเทศศรีลังกา
ศาสนาพุทธได้แผ่ขยายจากประเทศอินเดียสู่ลังกาทวีป เมื่อประมาณ ปี พ.ศ. ๒๓๖ ในคราวที่พระเจ้าอโศกมหาราช (อังกฤษ: Ashoka the Great) ทรงอุปถัมภ์การสังคายนาพระธรรมวินัยครั้งที่ ๓ ในอินเดีย และได้ส่งพระเถระผู้รอบรู้แตกฉานในพระธรรมวินัยไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในดินแดนต่าง ๆ รวม ๙ สายด้วยกัน และใน ๙ สายนั้น สายหนึ่งได้มายังเกาะของชาวสิงหล (คือประเทศศรีลังกา ในปัจจุบัน) โดยการนำของพระมหินทเถระ ในรัชสมัยของพระเจ้าเทวานัมปิยติสสะ (อังกฤษ: Devanampiya Tissa) แห่งอาณาจักรอนุราธปุระ (อังกฤษ: Anuradhapura period, ระหว่าง ๓๗๗ ปี ก่อน ค.ศ. - ค.ศ. ๑๐๑๗) ซึ่งเป็นกษัตริย์ของลังกาในขณะนั้น
ปฏิบัติธรรมสืบสานเจตนารมณ์พระเดชพระคุณคุณูปมาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ธ) และรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร โดย ท่าน อ.ลักษณ์ พุทธธรรม (ธ)
นอบน้อม เชิดชู ปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ทุกๆ พระองค์
สถานที่นี้เป็นสถานที่สงบ ฝึกใจ ฝึกตน หากใจยังสกปรกจงกลับไปยังที่ของท่านเถอะ
สถานที่นี้เป็นที่เจริญ มรรคมีองค์ ๘ พรหมวิหาร ๔ เพื่อความหลุดพ้น
สถานที่นี้ ไม่รับเจิม ดูดวง ประกอบพิธีกรรมทางโลกทุกกรณี
๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. เวลาพักผ่อนของท่านอาจารย์ ห้ามรบกวนโดยเด็ดขาด
๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. เวลาที่ศิษยานุศิษย์และญาติธรรม สามารถเข้าพบและสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ได้ตามเหมาะสม
ศาลาภิรมย์ธรรม ๘๕/๑ ม.๓ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๖๐
ห้ามบุคคลภายนอก เข้าเขตหน่อแก้วยามวิกาล ในทุกกรณี
ห้ามศิษยานุศิษย์นำสิ่งเสพติดทุกชนิด เข้ามาภายในหน่อแก้วสถาน