นิกายในศาสนาพุทธ

นิกายในศาสนาพุทธ (อังกฤษ: Schools of Buddhism) คือหมวด, หมู่, พวก นิยมใช้ใน ๒ ความหมาย ดังนี้

ความหมายหนึ่ง เป็นชื่อเรียกคัมภีร์พระสุตตันตปิฎก ที่แยกออกเป็น ๕ หมวด คือ ฑีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย อังคุตตรนิกาย ขุททกนิกาย

อีกความหมายหนึ่ง เป็นชื่อเรียกคณะนักบวชในศาสนาเดียวกัน แต่แยกไปเป็นพวกๆ ตามความเห็นที่ไม่ตรงกันซึ่งมีในทุกศาสนา ในพุทธศาสนาก็อย่างเช่นเถรวาท และมหายาน (นิกายพุทธดั้งเดิม) หรือมหานิกาย กับธรรมยุติกนิกาย (นิกายพุทธของไทยในปัจจุบัน แตกนิกายจากเถรวาท )

ทิศทางการแผ่ขยายของพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เถรวาท โดยศัพท์แปลว่าตามแนวทางของพระเถระ เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่าหินยาน

นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ ๗๐% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ ๑๐๐ ล้านคน

ทิศทางการแผ่ขยายของศาสนาพุทธนิกายมหายาน ระหว่างพุทธศตวรรษที่ ๖ - ๑๕

มหายาน เป็นนิกายในศาสนาพุทธฝ่ายอาจริยวาท ที่นับถือกันอยู่ประเทศแถบตอนเหนือของอินเดีย ญี่ปุ่น เนปาล จีน เกาหลี เวียดนาม มองโกเลีย ไปจนถึงบางส่วนของรัสเซีย จุดเด่นของนิกายนี้อยู่ที่แนวคิดเรื่องการบำเพ็ญตนเป็นพระโพธิสัตว์ สร้างบารมีเพื่อช่วยเหลือสรรพชีวิตในโลกไปสู่ความพ้นทุกข์ ด้วยเหตุที่มีผู้นับถืออยู่มากในประเทศแถบเหนือจึงเรียกได้อีกชื่อหนึ่งว่าอุตตรนิกาย ปัจจุบันพุทธศาสนิกชนส่วนใหญ่ของโลกเป็นผู้นับถือนิกายมหายาน

ทะเลเจดีย์ที่เมืองพุกาม (อังกฤษ: Bagan) ดินแดนแห่งเจดีย์สี่พันองค์ เคยเป็นที่ตั้งอาณาจักรโบราณพุกาม (พ.ศ. ๑๕๘๗ - พ.ศ. ๑๘๓๐) หลักฐานความเจริญรุ่งเรืองของศาสนาพุทธเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ แห่งดินแดนพม่าในอดีต

มหานิกาย เป็นคำเรียกนิกาย หรือคณะของพระสงฆ์ไทยสายเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์ ซึ่งเป็นพระสงฆ์ส่วนใหญ่ในประเทศไทย เป็นฝ่ายคันถธุระ เดิมนั้น คำเรียกแบ่งแยกพระสงฆ์สายเถรวาท ในประเทศไทยออกเป็นมหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย ยังไม่มี เนื่องจากคณะพระสงฆ์ไทยในสมัยโบราณ ก่อนหน้าที่จะมีการจัดตั้งคณะธรรมยุต ขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น ไม่มีการแบ่งแยกออกเป็นนิกายต่างๆ โดยส่วนใหญ่พระสงฆ์ไทยนั้นล้วนแต่เป็นเถรวาทสายลังกาวงศ์ ทั้งสิ้น

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทย รัชกาลที่ ๔  แห่งราชวงศ์จักรี ขณะทรงผนวช ระหว่าง พ.ศ. ๒๓๖๘ - พ.ศ. ๒๓๙๔ ได้รับพระนามฉายาว่าวชิรญาโณ หรือวชิรญาณภิกขุ พระองค์ทรงก่อตั้งคณะสงฆ์ธรรมยุติกนิกาย ขึ้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยาม และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย

ธรรมยุติกนิกาย หรือคณะธรรมยุต เป็นคณะสงฆ์ที่พระวชิรญาณเถระ (พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ไทยรัชกาลที่ ๔  แห่งราชวงศ์จักรี ) ทรงตั้งขึ้นเพื่อฟื้นฟูศาสนาพุทธในสยาม และแก้ไขวัตรปฏิบัติให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัย ขณะที่พระองค์ทรงผนวชอยู่นั้น ได้ทรงศึกษาพระไตรปิฎกอย่างแตกฉานทำให้มีพระวิจารณญาณเกี่ยวกับความเป็นมาของพระพุทธศาสนา และการประพฤติปฏิบัติของพระภิกษุสามเณรได้อย่างละเอียดถี่ถ้วน เป็นเหตุให้มีพระราชดำริในอันที่จะฟื้นฟูการสั่งสอนและการประพฤติปฏิบัติของพระสงฆ์ให้ถูกต้องตามพระธรรมวินัยตามที่ได้ทรงศึกษาและทรงพิจารณาสอบสวนจนเป็นที่แน่แก่พระราชหฤทัยว่าถูกต้องเป็นจริงอย่างไรแล้ว พระองค์ได้ทรงนำประพฤติปฏิบัติขึ้นก่อน หรือกล่าวอีกอย่างหนึ่งก็คือทรงเริ่มแก้ไขที่พระองค์เองเป็นอันดับแรก

ต่อมา เมื่อมีบุคคลอื่นเห็นชอบและนิยมตาม จึงได้มีผู้ประพฤติปฏิบัติตามอย่างพระองค์ขึ้น และมีจำนวนมากขึ้นเป็นลำดับ จนเกิดเป็นพระสงฆ์หมู่หนึ่ง หรือนิกายหนึ่ง ที่ได้ชื่อในภายหลังว่าธรรมยุติกนิกาย หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “ธรรมยุต ” อันมีความหมายว่าผู้ประกอบด้วยธรรม หรือชอบด้วยธรรม หรือยุติตามธรรม ทั้งนี้ก็เพราะว่าพระสงฆ์นี้เกิดขึ้นด้วยมุ่งแสวงหาว่าข้อใดเป็นธรรม เป็นวินัย เป็นสัตถุศาสน์ (คำสั่งสอนของพระศาสดา) แล้วปฏิบัติข้อนั้นเว้นข้อที่ไม่เป็นธรรม ไม่เป็นวินัย ไม่เป็นสัตถุศาสน์ แม้จะเป็นอาจินปฏิบัติ (คือข้อปฏิบัติตามกันมาแต่ผิดพระธรรมวินัย) ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕  ทรงมีพระบรมราชโองการให้ประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองคณะสงฆ์ขึ้นเป็นครั้งแรกในประเทศไทย พระราชบัญญัติฉบับนี้มีชื่อว่าพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ ร.ศ. ๑๒๑ สาระสำคัญคือ ได้ยกสถานะคณะธรรมยุต ให้เป็นนิกายอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

ข้อควรปฏิบัติ

ปฏิบัติธรรมสืบสานเจตนารมณ์พระเดชพระคุณคุณูปมาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ธ) และรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร โดย ท่าน อ.ลักษณ์ พุทธธรรม (ธ)

นอบน้อม เชิดชู ปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ทุกๆ พระองค์

สถานที่นี้เป็นสถานที่สงบ ฝึกใจ ฝึกตน หากใจยังสกปรกจงกลับไปยังที่ของท่านเถอะ

สถานที่นี้เป็นที่เจริญ มรรคมีองค์ ๘ พรหมวิหาร ๔ เพื่อความหลุดพ้น

สถานที่นี้ ไม่รับเจิม ดูดวง ประกอบพิธีกรรมทางโลกทุกกรณี

ติดต่อเรา

๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. เวลาพักผ่อนของท่านอาจารย์ ห้ามรบกวนโดยเด็ดขาด

๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. เวลาที่ศิษยานุศิษย์และญาติธรรม สามารถเข้าพบและสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ได้ตามเหมาะสม

ศาลาภิรมย์ธรรม ๘๕/๑ ม.๓ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๖๐

norkaewplace@gmail.com

ห้ามบุคคลภายนอก เข้าเขตหน่อแก้วยามวิกาล ในทุกกรณี

ห้ามศิษยานุศิษย์นำสิ่งเสพติดทุกชนิด เข้ามาภายในหน่อแก้วสถาน

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์ อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา