ปริวาส เป็นชื่อของสังฆกรรม ประเภทหนึ่งที่สงฆ์จะพึงกระทำ ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งการอยู่ปริวาสเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าการอยู่กรรม จึงนิยมเรียกรวมกันว่าปริวาสกรรม

ปริวาส หมายถึงการอยู่ใช้ หรือการอยู่รอบ หรือเรียกสามัญว่าการอยู่กรรม (วุฏฐานวิธี) คืออยู่ให้ครบกระบวนการ สิ้นสุดกรรมวิธีทุกขั้นตอนของการอยู่ปริวาสกรรม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อยู่ใช้กรรมหรือความผิดที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัยต้องอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งอาจจะล่วงละเมิดโดยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจล่วงละเมิดโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดีนั้น ให้พ้นมลทิน หมดจดบริสุทธิ์ไม่มีเหลือเครื่องเศร้าหมองอันจะเป็นอุปสรรคในการประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญในทางจิตของพระภิกษุสงฆ์

ความเป็นมาของการอยู่ปริวาส

ปริวาสกรรม มีเพื่อสำหรับบุคคล ๒ ประเภท คือ ปริวาสกรรมสำหรับคฤหัสถ์ หรือพวกเดียรถีย์ ๑ และปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์ที่บวชอยู่แล้วในพระพุทธศาสนาแต่ต้องครุกาบัติ ๑ พอจะอธิบายพอสังเขปได้ ดังนี้

ปริวาสกรรมสำหรับคฤหัสถ์ หรือ พวกเดียรถีย์

ปริวาส คำนี้มีมาแต่สมัยพุทธกาล เนื่องด้วยมีคฤหัสถ์มากมายที่ไม่ใช่ผู้ที่นับถือศาสนาพุทธ หรือ ไม่ได้นับถือพระรัตนตรัย คือพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ หรือเป็นผู้ที่นับถือศาสนาอื่นหรือลัทธิอื่นๆ มาก่อน ซึ่งคนจำพวกนี้เรียกว่าเดียรถีย์ ซึ่งเดียรถีย์เหล่านี้เมื่อได้ฟังพระธรรมจากพระพุทธเจ้า บ้าง หรือพระอัครสาวก บ้างก็เกิดมีความเลื่อมใสศรัทธาในพระพุทธศาสนา คิดจะเข้ามานับถือพระพุทธศาสนา โดยจะยังครองเพศเป็นคฤหัสถ์เช่นเดิมหรือจะขอบวช ก็ตามพระพุทธเจ้าทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะให้คนเหล่านี้ได้อบรมตนให้เข้าใจในหลักพระพุทธศาสนาเสียก่อน เป็นเวลา ๔ เดือน จึงได้ทรงอนุญาตให้อยู่ประพฤติตนเรียกว่าติตถิยปริวาส ไว้ คนที่ถูกกำหนดว่าเป็นเดียรถีย์ต้องอยู่ติตถิยปริวาส ๔ เดือนนั้น ตามพระบาลีท่านกล่าวว่า "ติตถิยปริวาส ในพระบาลีนั้น พึงให้แก่อัญเดียรถีย์ชาตินิครนถ์ เท่านั้น ไม่ควรให้แก่ชนเหล่าอื่นฯ"

ซึ่งในข้อนี้พระอรรถกถาจารย์ท่านแก้ไว้ว่า "ติตถิยปริวาส นี้ ควรให้แก่อาชีวก หรืออเจลกะ ผู้เป็นปริพาชกเปลือยเท่านั้นฯ" ความอีกตอนหนึ่งว่า

ขึ้นชื่อว่าติตถิยปริวาส นี้ ท่านเรียกว่าอัปปฏิจฉันนปริวาส บ้าง. ก็ติตถิยปริวาส นี้ ควรให้แก่อาชีวก หรืออเจลก ผู้เป็นปริพาชกเปลือยเท่านั้น. ถ้าแม้เขานุ่งผ้าสาฎก หรือบรรดาผ้าวาฬกัมพล เป็นต้น ผ้าอันเป็นธงแห่งเดียรถีย์ อย่างใดอย่างหนึ่งมา ไม่ควรให้ปริวาส แก่เขา.
อนึ่ง นักบวชอื่นมีดาบส และปะขาว เป็นต้น ก็ไม่ควรให้เหมือนกัน

— อรรถกถา มหาวรรค ภาค ๑ มหาขันธกะ ติตถิยปริวาส

อุปกะ นักบวชประเภทอาชีวก พบพระพุทธเจ้าระหว่างทาง ขณะพระพุทธองค์เสด็จพุทธดำเนินเพื่อไปโปรดปัญจวัคคีย์

ในฏีกาสารัตถทีปนี ซึ่งเป็นฏีกาของสมันตปาสาทิกา อีกทีหนึ่ง แต่งโดยพระสารีบุตร ชาวลังกา (ไม่ใช่สารัตถทีปนี อรรถกถาสังยุตตนิกาย ของพระพุทธโฆษาจารย์ ) ท่านแก้อรรถคำว่าอาชีวก และอเจลกะ ไว้ว่า

  • อาชีวก ได้แก่ คนที่นุ่งผ้าสไบเฉียงข้างบนผืนเดียว ส่วนข้างล่างเปลือย คือคนเปลือยครึ่งท่อน
  • อเจลกะ ได้แก่ คนที่เปลือยกายทั้งหมด

ส่วนที่เป็นดาบสชีปะขาวอื่นมีปริพาชก เป็นต้น ที่ยังมีผ้าขนสัตว์หรือผ้าพันกายเป็นเครื่องหมายของลัทธิอยู่ ถือว่าได้รับสิทธิพิเศษไม่ต้องอยู่ปริวาสก่อน ๔ เดือน อย่างเช่น อัครสาวกทั้ง ๒ ซึ่งเป็นปริพาชกและเคยอยู่กับปริพาชกมาก่อนก็ดี สีหเสนาบดี ชาวเมืองเวสาลี ซึ่งเป็นศิษย์เอกของนิครนถ์นาฏบุตรพาวรีพราหมณ์ ทั้ง ๑๖ คน ชานุสโสณีพราหมณ์ ติมพรุกขปริพาชก วัปปศากย สาวกนิครนถ์ สุลิมปริพาชก กาปทกมาณพ และโลกายติกพราหมณ์ ก็ดี ท่านเหล่านี้ไม่ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือนเพราะท่านเหล่านี้ท่านเรียกว่าสันสกถติสัทธา ได่แก่ผู้ที่มุ่งหน้าเข้ามาหา มาถามปัญหาโดยมีศรัทธาเป็นประธาน หรือเป็นผู้ที่เป็นสาวกบารมีญาณแก่กล้าเต็มที่แล้ว นั่นเอง

ในทางคัมภีร์ชั้นบาลีนั้น ผู้ที่ไม่ได้เป็นชีเปลือย ก็เคยมีปรากฏว่าอยู่ติตถิยปริวาส มาบ้างแล้ว ในตอนที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตติตถิยปริวาส ๔ เดือน นี้ ได้แก่พวกเดียรถีย์ (วินย.๔ ๘๖/๑๐๑-๒) ท่านหมายเอาคนนอกศาสนาผู้มีความเห็นผิดเป็นนิยตมิจฉาทิฏฐิ เข้าด้วย เช่นสภิยพราหมณ์ ผู้นึกดูหมิ่นพระพุทธเจ้า (สภิยสูตร ๒๕/๕๔๘) และปสุรปริพาชก ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ เป็นต้น คนเหล่านี้ก็ยังมีเสื้อผ้าอยู่ และการอนุญาตติยถิยปริวาส ให้แก่อเจลกกัสสปะ ชาวเมืองอุชุญญนคร ซึ่งทั้งสามท่านที่ยกตัวอย่างมานี้ ภายหลังเลื่อมใสในพระพุทธศาสนามาก จึงขออยู่ปริวาสถึง ๔ ปี

ปริวาสสำหรับพระภิกษุสงฆ์

ปริวาสกรรมสำหรับพระภิกษุสงฆ์นี้ เป็นปริวาสตามปกติสำหรับภิกษุผู้บวชอยู่แล้วในพระพุทธศาสนา แต่ไปต้องครุกาบัติ จึงจำเป็นต้องประพฤติปริวาสเพื่อนำตนให้พ้นจากอาบัติ ตามเงื่อนไขทางพระวินัยและเงื่อนไขของสงฆ์ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าการประพฤติวุฏฐานวิธี

การประพฤติวุฏฐานวิธี

เมื่อพระภิกษุสงฆ์เข้าอยู่ปริวาสกรรม พุทธศาสนิกชนนิยมบริจาคทาน รักษาศีล ฟังธรรม ซึ่งเป็นความเชื่อสืบต่อกันมานานว่า คฤหัสถ์ผู้ใดได้ทำบุญและร่วมกันดูแลอุปัฎฐากพระสงฆ์ที่เข้าอยู่กรรม ถือว่าได้บุญกุศลหรืออานิสงส์แรงมาก

ความหมายและประเภทของวุฏฐานวิธี

วุฏฐานวิธี คือกฎระเบียบอันเป็นเครื่องออกจากอาบัติ หมายถึง ระเบียบวิธีปฏิบัติสำหรับภิกษุผู้จะเปลื้องตนออกจากครุกาบัติสังฆาทิเสส มีทั้งหมด ๔ ขั้นตอน คือ

  • ๑. ปริวาส หรืออยู่ประพฤติปริวาส หรืออยู่กรรม (โดยสงฆ์เห็นชอบที่ ๓ ราตรี)
  • ๒. มานัต ประพฤติมานัต ๖ ราตรี หรือ นับราตรี ๖ ราตรีแล้วสงฆ์สวดระงับอาบัติ
  • ๓. อัพภาน หรือการเรียกเข้าหมู่ โดยพระสงฆ์ ๒๐ รูป สวดให้อัพภาน
  • ๔. ปฏิกัสสนา ประพฤติมูลายปฏิกัสสนา (ถ้าต้องอันตราบัติ ในระหว่างหรือการชักเข้าหาอาบัติเดิม)

ทั้ง ๔ ขั้นตอนนี้รวมกันเข้าเรียกว่าการประพฤติวุฎฐานวิธี แปลว่า ระเบียบหรือขั้นตอนปฏิบัติตน เพื่อออกจากอาบัติ อันได้แก่สังฆาทิเสส

สังฆาทิเสส

สังฆาทิเสส คือ ประเภทของโทษที่เกิดจากการล่วงละเมิดสิกขาบทประเภทครุกาบัติ ที่เรียกว่าอาบัติสังฆาทิเสส จัดเป็นอาบัติโทษรุนแรงรองจากปาราชิก มีทั้งหมด ๑๓ ประการดังนี้

  • ๑. ทำน้ำอสุจิเคลื่อน
  • ๒. แตะต้องสัมผัสกายสตรี
  • ๓. พูดเกี้ยวพาราสีสตรี
  • ๔. พูดจาให้สตรีบำเรอกามให้
  • ๕. ทำตัวเป็นพ่อสื่อ
  • ๖. สร้างกุฏิด้วยการขอ
  • ๗. มีเจ้าภาพสร้างกุฏิให้แต่ไม่ให้สงฆ์แสดงที่ก่อน
  • ๘. ใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
  • ๙. แกล้งสมมติแล้วใส่ความว่าปาราชิกโดยไม่มีมูล
  • ๑๐. ทำสงฆ์แตกแยก(สังฆเภท)
  • ๑๑. เข้าข้างภิกษุที่ทำสงฆ์แตกแยก
  • ๑๒. ภิกษุทำตนเป็นคนหัวดื้อ
  • ๑๓. ประจบสอพลอคฤหัสถ์

คำว่าสังฆาทิเสส แปลว่าอาบัติที่ต้องอาศัยสงฆ์ในกรรมเบื้องต้นและกรรมที่เหลือ กล่าวคือ เมื่อภิกษุต้องอาบัติดังกล่าวแล้ว ต้องแจ้งแก่สงฆ์ ๔ รูปเพื่อขอประพฤติวัตรที่ชื่อมานัต เมื่อสงฆ์อนุญาตแล้วจึงประพฤติวัตรดังกล่าวเป็นเวลา ๖ คืน เมื่อพ้นแล้วจึงขอให้สงฆ์ ๒๐ รูปทำสังฆกรรมสวดอัพภาน ให้ เมื่อพระสงฆ์สวดอัพภานเสร็จสิ้น ถือว่าภิกษุรูปนั้นพ้นจากอาบัติข้อนี้

ในกรณีที่ภิกษุต้องอาบัติข้อนี้แล้วปกปิดไว้ เมื่อมาแจ้งแก่หมู่สงฆ์แล้ว ต้องอยู่ปริวาสกรรม เท่ากับจำนวนวันที่ปกปิดไว้ก่อน เช่น ภิกษุต้องอาบัติสังฆาทิเสสแล้วปกปิดไว้หนึ่งเดือน เมื่อแจ้งแก่สงฆ์แล้วต้องอยู่ปริวาสหนึ่งเดือน แล้วจึงขอประพฤติวัตรมานัตต่อไป

ส่วนประกอบของการประพฤติวุฏฐานวิธี

ขั้นตอนการประพฤติวุฎฐานวิธี นั้น จะต้องประกอบด้วยคณะสงฆ์ที่ทำสังฆกรรม ๒ ฝ่าย ดังนี้

  • พระภิกษุผู้ประพฤติปริวาส หรือภิกษุผู้อยู่กรรม หรือพระลูกกรรม คือ สงฆ์ที่ต้องอาบัติ แล้วประสงค์ที่จะออกจากอาบัตินั้น จึงไปขอปริวาสเพื่อประพฤติวุฏฐานวิธี ตามขั้นตอนที่พระวินัยกำหนด
  • พระปกตัตตะภิกษุ หรือคณะสงฆ์พระอาจารย์กรรม (หรือพระพี่เลี้ยง) ซึ่งเป็นสงฆ์ฝ่ายที่พระวินัยกำหนดให้เป็นผู้ควบคุมดูแลความประพฤติของสงฆ์ฝ่ายแรกผู้ขอปริวาส ซึ่งสงฆ์ที่ทำหน้าที่ควบคุมดูแลอนุเคราะห์เกื้อกูลนี้ ทำหน้าที่เป็นพระปกตัตตะภิกษุ หรือภิกษุโดยปกติ พระภิกษุผู้มีศีลไม่ด่างพร้อย

๑. ปริวาส

ความหมายและประเภทของปริวาส

ปริวาส หรือการอยู่ประพฤติปริวาส  คือการอยู่ใช้ การอยู่กรรม หรือการอยู่รอบ มีอยู่ด้วยกัน ๔ ประเภท คือ

  • ๑. อัปปฏิจฉันนปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ต้องครุกาบัติแล้วไม่ปิดไว้
  • ๒. ปฏิจฉันนปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ต้องครุกาบัติแล้วปิดไว้ ซึ่งนับวันได้
  • ๓. สโมธานปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ครุกาบัติแล้วปิดไว้ ต่างวันที่ปิดบ้าง ต่างวัตถุที่ต้องบ้าง
  • ๔. สุทธันตปริวาส คือ ปริวาสสำหรับผู้ต้องอาบัติแล้วปิดไว้ มีส่วนเท่ากันบ้าง ไม่เท่ากันบ้าง

การอยู่ประพฤติปริวาส มีการนับราตรีอยู่หลายแบบ ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของปริวาสนั้นๆ ว่าสงฆ์ผู้ต้องอาบัติขอปริวาสอะไร ซึ่งลักษณะและเงื่อนไขของปริวาสแต่ละประเภทนั้นพอจะธิบายพอสังเขปได้ ดังนี้

  • ๑.๑ อัปปฏิฉันนปริวาส ในคัมภีร์ชั้นอรรถกถาว่า ถูกจัดให้เป็นปริวาสสำหรับพวกเดียรถีย์ตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งเมื่อพวกเดียรถีย์มีศรัทธาเลื่อมใสและมีความประสงค์ที่จะเข้ามาบวชในพระพุทธ ศาสนาพระพุทธองค์ก็อนุญาตให้คนเหล่านี้ต้องอยู่ประพฤติ อัปปฏิฉันนปริวาสนี้เป็นเวลา ๔ เดือน และการอยู่ประพฤติ อัปปฏิฉันนปริวาสของพวกเดียรถีย์นี้ จะไม่มีการบอกวัตร จึงทำให้อัปปฏิฉันนปริวาสนำไปใช้ในสมัยพระพุทธองค์เท่านั้น และถูกยกเลิกไป
  • ๑.๒ ปฏิจฉันนปริวาส แปลว่าอาบัติที่ต้องครุกาบัติเข้าแล้วปิดไว้ เมื่อขอปริวาสประเภทนี้ จะต้องอยู่ประพฤติให้ครบตามจำนวนราตรีที่ตนปิดไว้นั้นโดยไม่มีการประมวลอาบัติใดๆ ทั้งสิ้น ซึ่งจำนวนราตรีที่ปิดไว้นานเท่าใดก็ต้องประพฤติปริวาสนานเท่านั้น ดังในคัมภีร์ชั้นอรรถกถากล่าวถึงการปิดอาบัติไว้นานถึง ๖๐ ปี (สมนต.๓/๓๐๓) ในคัมภีร์ จุลวรรคยังได้กล่าวถึงพระอุทายี ที่ต้องอาบัติสัญเจตนิกาสุกกวิสัฏฐิ แล้วปิดไว้หนึ่งวัน เมื่อท่านประสงค์จะประพฤติปริวาส พระพุทธองค์จึงมีพระดำรัสให้สงฆ์จตุวรรคให้ปริวาสแก่ท่านเพียงวันเดียว ซึ่งเรียกว่าเอกาหัปปฏิจฉันนาบัติ ซึ่งเท่ากับท่านอยู่ปริวาสเพียงวันเดียวเท่านั้น (วิ.จุล.๖/๑๐๒/๒๒๘)
  • ๑.๓ สโมธานปริวาส คือปริวาสที่ประมวลอาบัติที่ต้องแต่ละคราวเข้าด้วยกัน แล้วอยู่ประพฤติปริวาสตามจำนวนราตรีที่ปิดไว้นานที่สุด ซึ่งในขณะที่กำลังอยู่ประพฤติปริวาส ประพฤติวุฏฐานวิธีอยู่นั้น ภิกษุนั้นต้องครุกาบัติซ้ำเข้าอีก ไม่ว่าจะเป็นอาบัติเดิม หรืออาบัติใหม่ที่ต้องเพิ่มขึ้น (ต้องโทษเพิ่ม) ซึ่งทางวินัยเรียกว่ามูลายปฏิกัสสนา หรือปฏิกัสสนา แปลว่าการชักเข้าหาอาบัติเดิม หรือกิริยาที่ชักเข้าหาอาบัติเดิม ซึ่งมูลายปฏิกัสสนา นั้น ถึงต้องในระหว่างก็ไม่ได้ทำให้การอยู่ปริวาสเสียหายแต่ประการใด เพียงแต่ทำให้การประพฤติปริวาสล่าช้าไปเท่านั้นเอง จึงทำให้ภิกษุนั้นต้องขอปฏิกัสสนา กับสงฆ์ ๔ รูป ซึ่งปริวาสในครั้งที่ ๒ ที่ต้องซ้ำเข้ามานี้จะเป็นปริวาสชนิดใดขึ้นอยู่กับเงื่อนไขดังนี้
    • ในขณะกำลังประพฤติวุฏฐานวิธีอยู่ แล้วต้องอาบัติตัวเดิมหรือตัวใหม่ซ้ำเข้าแล้วปกปิดไว้ ถ้าปิดไว้เช่นนี้ ต้องขอปฏิกัสสนา แล้วต้องขอสโมธานปริวาส เพื่อที่จะประมวลอาบัติที่ต้องในระหว่างเข้าปริวาสกับอาบัติตัวเดิมที่เคยต้องมาแล้ว อยู่ประพฤติปริวาสจนครบกับจำนวนราตรีที่ภิกษุท่านปกปิดไว้ เหตุที่ต้องขอสโมธานปริวาส เท่านั้น ก็เพราะสโมธานปริวาสเหมาะสำหรับอาบัติที่ปิดไว้ เพื่อให้รู้ว่าปิดไว้กี่วัน ซึ่งคณะสงฆ์จะได้ประมวลเข้ากับอาบัติเดิมที่อยู่มาก่อน เช่น ภิกษุที่ต้องอาบัติขอปริวาสไว้ ๑๕ ราตรี พออยู่ไปได้ ๕ ราตรี ภิกษุท่านต้องอาบัติซ้ำหรือเพิ่มขึ้นอีกแล้วท่านปิดไว้ไม่ได้บอกใครพอถึงราตรีที่ ๑๒ ก็นับว่าท่านปิดอาบัติที่ต้องครุกาบัติซ้ำเข้าไปนั้นแล้ว (๑๒-๕) เท่ากับ ๗ ราตรี และการที่ท่านอยู่ปริวาสมาจนถึงราตรีที่ ๑๒ ในจำนวน ๑๕ ราตรีที่ขอนั้น ก็เท่ากับท่านได้เพียงแค่ ๕ ราตรีเท่านั้นที่ไม่เกิดอาบัติซ้ำ ส่วนอีก ๗ ราตรีีที่ประพฤติปริวาสไปแล้วนั้น ถือเป็นโมฆะนับราตรีไม่ได้ คณะสงฆ์ก็ต้องให้สโมธานปริวาสประมวลอาบัติที่ปิดไว้ ๗ ราตรีรวมกับส่วนที่ต้องครุกาบัติก่อนแล้วเท่ากับต้องอยู่ประพฤติปริวาสรวมทั้งหมดเป็น ๒๒ วันนับแต่ราตรี ที่ ๑ หรือหากนับจากราตรีที่ ๖ ไปอีก ๑๗ วัน
    • ถ้าต้องอันตราบัติ แล้ว ภิกษุท่านนั้นมิได้ปกปิดไว้ ก็ขอปฏิกัสสนา กับสงฆ์ แล้วก็ขอมานัต ได้เลย
    • ถ้าไม่ต้องอาบัติตัวใดซ้ำหรือเพิ่มเติมในขณะอยู่ประพฤติปริวาส ก็ให้ประพฤติปริวาสนั้นตามเงื่อนไขของการอยู่ประพฤติปริวาสตามปกติ
  • ๑.๔ สุทธันตปริวาส เป็นปริวาสที่ไม่มีกำหนดแน่นอน นับราตรีไม่ได้ ในปัจจุบันนี้นิยมจัดแต่สุทธันตปริวาส ทั้งนี้ก็เพราะเป็นปริวาสที่จัดว่าอยู่ในดุลยพินิจของสงฆ์ อยู่ในอำนาจของสงฆ์ คือ ให้สงฆ์เป็นใหญ่ หากคณะสงฆ์จะให้อยู่ถึง ๕ ปี ก็ต้องยอมปฏิบัติตาม โดยไม่มีทางเลือกและถ้าสงฆ์ให้อยู่ราตรีหนึ่งหรือสองราตรีแล้ว ขอมานัต ได้ก็ถือว่าเป็นสิทธิของคณะสงฆ์ และทั้งนี้ก็เพราะสุทธันตปริวาส นี้มีเงื่อนไขน้อยที่สุด แต่ให้ความมั่นใจแก่ผู้ปฏิบัติมากที่สุด ซึ่งภิกษุที่ท่านขอปริวาสดังคำว่า

ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ไม่รู้ที่สุดแห่งอาบัติ ๑ ไม่รู้ที่สุดแห่งราตรี ๑ ระลึกที่สุดแห่งอาบัติไม่ได้ ๑ ระลึกที่สุดแห่งราตรีไม่ได้ ๑ สงสัยในที่สุดแห่งอาบัติ ๑ สงสัยในที่สุดแห่งราตรี ๑ ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้าขอปริวาส จนกว่าจะบริสุทธิ์เพื่ออาบัติ เหล่านั้น กะสงฆ์

— วิ.จุล.๖/๑๕๖/๑๘๒
  • ซึ่งก็ยังมีข้อกำหนดว่า อยู่ไปเรื่อยๆ จนกว่าจะบริสุทธิ์ ดังนั้นจึงได้แบ่งสุทธันตปริวาส ออกเป็น ๒ ลักษณะ ดังนี้
    • จุฬสุทธันตปริวาส แปลว่าสุทธันตปริวาสอย่างย่อย คือ ปริวาสของภิกษุผู้ต้องครุกาบัติหลายคราวด้วยกัน แต่ละคราวก็ปิดไว้ แต่ก็ยังพอจำจำนวนอาบัติได้ จำจำนวนวัน และจำจำนวนครั้งได้บ้าง จึงขอจุฬสุทธันตปริวาส และอยู่ประพฤติปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์ แต่โดยทั่วไปในปัจจุบันนี้คณะสงฆ์ก็นิยมสมมติให้อยู่ ๓ ราตรีเป็นเกณฑ์ น้อยกว่านี้ไม่ได้ แต่ถ้ามากกว่านี้ไม่เป็นไร
    • มหาสุทธันตปริวาส แปลว่าสุทธันตปริวาสอย่างใหญ่ คือ ปริวาสของภิกษุผู้ต้องครุกาบัติหลายคราวด้วยกัน แต่ละคราวก็ปิดไว้ จำจำนวนอาบัติไม่ได้ จำจำนวนวัน และจำจำนวนครั้ง ไม่ได้ จึงขอจุฬสุทธันตปริวาสและอยู่ประพฤติปริวาสจนกว่าจะเห็นว่าบริสุทธิ์โดยการกะประมาณว่าตั้งแต่บวชมาจนถึงเวลาใดที่ยังไม่ต้องครุกาบัติเลยเช่น อาจบวชมาได้ ๑ เดือน แต่ต้องครุกาบัติจนเวลาล่วงผ่านไปแล้ว ๕ เดือน ๑๐ เดือนหรือ ๑ ปี แต่จำจำนวนที่แน่นอนไม่ได้เลย จึงต้องขอปริวาสและกะประมาณว่าประมาณ ๑ เดือนนั้นในความรู้สึก ก็ถือว่าบริสุทธิ์และใช้ได้ ซึ่งมหาสุทธันตปริวาสนี้ ไม่เป็นที่นิยมในปัจจุบันเพราะยุ่งยากและกำหนดเวลาแน่นอนไม่ได้

เงื่อนไขการปฏิบัติขณะที่อยู่ประพฤติปริวาส

การอยู่ประพฤติปริวาสทุกประเภท มีเงื่อนไขที่จะต้องปฏิบัติขณะที่อยู่ประพฤติปริวาส ๒ กรณีด้วยกัน คือรัตติเฉท ๑ และวัตตเภท

๑. รัตติเฉท (สำหรับปริวาส)

รัตติเฉท แปลว่าการขาดแห่งราตรี นับราตรีไม่ได้ เมื่อราตรีขาด ก็ต้องเสียเวลาในการประพฤติปริวาสไปโดยเปล่าประโยชน์ ดังนั้น ภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาส ควรต้องทำตามกฎระเบียบอย่างเคร่งครัด เพื่อประโยชน์แก่ตนเอง

เหตุที่ทำให้ขาดราตรีของปริวาสิกภิกษุ ผู้ประพฤติปริวาส มีอยู่ ๓ ประการ ประกอบด้วย สหวาโส (การอยู่ร่วม) ๑ วิปวาโส (การอยู่ปราศ) ๑ และ อนาโรจนา (การไม่บอกวัตรที่ประพฤติ) ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นเงื่อนไขที่ทำให้การอยู่ประพฤติปริวาสของภิกษุนั้นเป็นโมฆะ นับราตรีไม่ได้ หรือทางวินัยเรียกว่ารัตติเฉท อธิบายพอสังเขปได้ ดังนี้

  • ๑.๑ สหวาโส
  • ความหมายของสหวาโส
    • สหวาโส แปลว่าการอยู่ร่วม ซึ่งในความหมายนี้ หมายเอาพระภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสอยู่ร่วมกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสด้วยกัน หรืออยู่ร่วมกับคณะสงฆ์ผู้เป็นพระอาจารย์กรรมในที่มุงบังเดียวกัน
    • การอยู่ร่วม นั้นมีขอบเขต คือ ท่านหมายเอาการนอนอยู่ร่วมกันในที่มุงอันเดียวกันในทางสถานที่ นั่นหมายถึงมีการทอดกายนอน ดังมีอรรถกถาบาลีว่า
  • สตคพฺ ภา จตุสฺสาลา เอกา เสยฺยาอิจฺเจว สงฺขยํ คจฺฉติ, เยปิ เอกสาลทฺวิสาลตฺติสาลจตุสฺสาลสนฺนิเวสา มหาปาสาทา เอกสฺมึ โอกาเส ปาเท โธวิตฺวา ปวิฏฺเฐนสกฺกา โหติ สพฺพตฺถ อนุปริคนฺตํ เตสุปิ สหเสยฺยาปตฺติยา น มุจฺจติฯ
    • แปลความว่า
  • ศาลา ๔ มุข มีห้องตั้งร้อย แต่อุปจาระเดียวกันก็ถึงอันนับว่าที่นอนอันเดียวกันแท้, แม้มหาปราสาทใด ที่มีทรวดทรงเป็นศาลาหลังเดียว สอง สาม และสี่หลัง ภิกษุล้างเท้าในโอกาสหนึ่งแล้วเข้าไป อาจเพื่อจะเดินเวียนรอบได้ในที่ทุกแห่ง แม้ในมหาปราสาทเหล่านั้น (ถ้านอนร่วมกัน) ภิกษุย่อมไม่พ้นสหเสยยาบัติ คืออาบัติเพราะการนอนร่วม

    — มนฺต.๒/๒๙๙
    • ซึ่งจะเห็นว่าการอยู่ร่วม คือ นอนร่วมกันและท่านก็เพ่งเอาการทอดกายนอนเฉพาะตอนกลางคืนนั้น ในที่มุงบังอันเดียวกัน หลังคาเดียวกัน ก็ไม่พ้นจากอาบัติเพราะการนอน คือ มีการทอดกายนอน และคำว่าที่มุงบังอันเดียวกัน นั้น ท่านก็หมายเอาแต่วัตถุที่เกิดขึ้นโดยวิทยาศาสตร์ เช่น ศาลาการเปรียญ กุฏิ โบสถ์ วิหาร ที่มนุษย์ใช้เครื่องมือสร้างขึ้น แต่ไม่รวมถึงที่มุงบังโดยธรรมชาติ เช่น ต้นไม้ หากมีการกางกลดภายใต้ร่มไม้เดียวกันก็ไม่ถือว่าเป็นการอยู่ร่วมกัน ดังนั้นจึงชี้ให้เห็นข้อแตกต่างของที่มุงบังเดียวกัน ซึ่งหากภิกษุสองรูปขึ้นไปอยู่ร่วมกัน ภิกษุรูปหนึ่งนั่งแต่ภิกษุอีกรูปหนึ่งนอน หรือภิกษุทั้งสองต่างนั่งอยู่ด้วยกันโดยไม่มีการทอดกายนอนก็ถือว่าไม่เป็นอาบัติ หรือรัตติเฉท ทั้งนี้ก็มีข้อแม้ว่า ในศาลาที่ทำสังฆกรรมนั้นเป็นที่มุงบังหลังคาเดียวกัน แต่หากในขณะเมื่ออยู่ปริวาสนั้นเกิดภัยทาง ธรรมชาติคุกคามแปรปรวน เช่น ฝนตก น้ำท่วม ลมแรง หรือ มีการปฏิบัติธรรมร่วมกัน ก็อนุญาตให้อยู่ร่วมในศาลามุงบังนั้นได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่มีการทอดกายนอน พอใกล้จวนสว่างแล้วก็ให้ลุกออกไปเสียที่อื่น ให้พ้นจากที่มุงนั้นให้ได้อรุณ ซึ่งกิริยาเช่นนี้ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าออกไปรับอรุณ
    • ดังนั้นคำว่าสหวาโส นั้น ขึ้นอยู่กับการนอน อย่างเดียวเท่านั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการนอน ไม่มีการเอนกาย ไม่ถือว่าเป็นสหวาโส จึงสรุปว่า แม้การร่วมทำสังฆกรรม ทำวัตรเช้า สวดมนต์เย็น ร่วมปฏิบัติธรรมภายใต้ศาลาเดียวกันโดยมีที่มุงบังก็ดี โดยไม่ได้เก็บวัตรก็ดี ทำกิจทุกอย่างร่วมกันภายในเต็นท์หรือปะรำที่สร้างขึ้นเพื่องานนั้นโดยไม่เก็บวัตรก็ดี เข้าห้องน้ำห้องสุขาที่มีเครื่องมุงบังพร้อมกันแม้จะเป็นหลังเดียวกันกับอาจารย์กรรมโดยไม่เก็บวัตรก็ดี ทั้งหมดนี้ไม่ถือเป็นสหวาโส ไม่มีผลกระทบแม้แต่น้อย และไม่เป็นอาบัติทุกกฎเพราะวัตตเภท ก็ไม่มี ทั้งนี้เพราะกิจที่ทำนั้นไม่ถือว่าเป็นการอยู่ร่วมกัน แต่เป็นการทำธุระ ร่วมกัน ทำกิจกรรม ร่วมกัน ซึ่งต่างกับการอยู่ร่วม หรือสหวาโส
  • ขอบเขตของสหวาโส
    • เรื่องของสถานะภิกษุทุกรูปที่เข้าอยู่ประพฤติปริวาส ภิกษุทุกรูปที่เข้าอยู่ประพฤติปริวาสนั้น เป็นผู้ตกอยู่ในข้อหาละเมิดสิกขาบทสังฆาทิเสส ซึ่งการอยู่ปริวาสนั้น เปรียบเหมือนกำลังพยายามออกจากสิกขาบทที่ละเมิด ดังนั้น ภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสนั้น แม้จะมีพรรษามากเท่าใดก็ตาม มีสมณะศักดิ์สูงเพียงใดก็ตาม ก็จะต้องเคารพและให้เกียรติต่อคณะสงฆ์อาจารย์กรรม ในเรื่องที่เป็นธรรมเป็นวินัย แม้สงฆ์ท่านนั้นจะเพิ่งบวชใหม่แม้ในวันนั้นทุกรูปก็ตาม จะทำการคลุกคลีด้วยการฉันร่วม นั่งร่วมในอาสนะเดียวกันเกินขอบเขต ซึ่งทำให้เป็นวัตตเภท บ้าง รัตติเฉท บ้าง ไม่ได้ ซึ่งในส่วนนี้ก็ต้องยอมลดทิฎฐิ และสถานะสมณศักดิ์ลงต่อคณะสงฆ์อาจารย์กรรม แต่สำหรับพระภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาสด้วยกันแล้วก็ยังคงรักษาพรรษาไว้และยังคงต้องนั่งตามลำดับพรรษาดังเดิม และพระเถระที่เคยมีอุปัฏฐากอยู่ที่วัด พอมาอยู่ปริวาสท่านจะมีอุปัฏฐากเช่นนั้นไม่ได้ ซึ่งในข้อนี้มีพระบาลีว่า
  • สทฺธิวิหาริกาทีนํ สาทิยนฺตสฺส ทุกฺกฎเมวฯ อหํ วนยกมฺมํ กโรมิ มยฺหํ วตฺตํ มา กโรถ มา มํ คามปฺปเวสนํ อาปุจฺฉถ, วาริตกาลโต ปฏฺฐาย อนาปตฺติฯ
    • แปลความว่า
  • เป็นอาบัติทุกกฎแก่ภิกษุผู้ยินดีแม้ของสัทธิวหาริก เป็นต้น พึงห้ามเขาว่า "เรากำลังทำวินัยกรรมอยู่ พวกท่านอย่าทำวัตรแก่เราเลย อย่าบอกลาเข้าบ้านกะเราเลย " จำเดิมแต่กาลที่ห้ามแล้วไม่เป็นอาบัติ
    — สมนฺต.๓/๒๘๒
    • ยกเว้นแต่ว่าเป็นกรณีพิเศษคือ ท่านอาจจะไหว้วานชั่วคราว เช่น ฝากซื้อของเครื่องใช้ที่จำเป็นต้องใช้ในขณะอยู่ประพฤติปริวาส
    • เรื่องของสถานที่ ในส่วนของสถานที่ เช่น ที่ฉันภัตตาหาร ที่ทำธุระส่วนตัว (เช่น ห้องน้ำ ห้องสุขา) ที่เดินจงกรม ที่ปฏิบัติธรรม ที่ทำสังฆกรรม ที่นอน ทั้งหมดนี้ ควรแยกสัดส่วนออกจากกัน คือ ส่วนไหนเป็นของคณะสงฆ์อาจารย์กรรม ส่วนไหนเป็นของพระภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาส ก็ต้องแยกจากกันให้เหมาะสม ทั้งนี้เพื่อให้เกียรติแก่คณะสงฆ์อาจารย์กรรม และเพื่อความนอบน้อมสำหรับภิกษุผู้อยู่ประพฤติปริวาส
  • ๑.๒ วิปวาโส หรือการอยู่ปราศ หมายถึง การอยู่ปราศจากคณะสงฆ์อาจารย์กรรม การอยู่ประพฤติปริวาสนั้นจะอยู่กันเองตามลำพังโดยปราศจากอาจารย์กรรมไม่ได้เด็ดขาด อย่างน้อยก็ต้องมีอาจารย์กรรม นั่นคือ ต้องใช้คณะสงฆ์ อาจารย์กรรม ๑ รูป สำหรับการอยู่ประพฤติปริวาส และ ๔ รูป สำหรับมานัต ทั้งนี้เพื่อจะได้คุ้มกรรมไว้ ส่วนเหตุอื่นที่จะเป็นวิปวาโส ได้นั้น ก็คือ ถึงแม้จะมีคณะสงฆอาจารย์กรรมอยู่ด้วย แต่มีกำหนดขอบเขตของวิปวาโส ไว้ว่า
ถ้าหากพระลูกกรรม ผู้อยู่ประพฤติปริวาสนั้นอยู่ไกลเกินกำหนด ซึ่งกำหนดของวิปวาโส นี้ ท่านบอกว่าสองชั่วเลฑฑุบาตร คือ เอาคนมีอายุปานกลางและมีกำลังขว้างก้อนดินตกลง ๒ ชั่ว คือ ขว้างก้อนดินต่อกัน ๒ ครั้ง นั่นเอง (เท่ากับขว้างครั้งแรกตกลงที่ใดแล้วก็ยืนตรงจุดที่ดินตกแล้วก็ขว้างครั้งที่สองไกลออกไปเท่าใดก็ถือเอาจุดนั้นเป็นเขตกำหนด)
  • ซึ่งจุดศูนย์กลางของสองเลฑฑุบาตร นี้ ให้ยึดเอาจุดที่คณะสงฆ์พระอาจารย์กรรมอยู่กัน แล้วก็ให้วัดขอบเขตไปที่ภิกษุผู้ปักกลดองค์แรกที่อยู่ใกล้อาจารย์กรรมที่สุด นั้นเป็นเกณฑ์ ส่วนภิกษุท่านอื่นๆ ก็ถือว่าปักกลดอยู่ต่อๆ กันไป เหมือนดั่งยังอยู่ในหัตถบาส เหมือนที่ลงสวดปาติโมกข์ ในโบสถ์ ซึ่งองค์แรกอยู่ในหัตถบาส องค์ต่อไปก็นั่งเรียงลำดับกันไป ซึ่งการกำหนดขอบเขตนี้ก็ขึ้นอยู่ที่คณะสงฆ์อาจารย์กรรมท่านเป็นผู้ชี้เขต และอนุญาตให้อยู่ได้ ซึ่งการอยู่ปราศ นั้น ก็คือห้ามอยู่โดยปราศจากอาจารย์กรรม ถึงแม้ภิกษุท่านจะเจ็บไข้ได้ป่วย มีเหตุให้ต้องไปนอนโรงพยาบาล ตราบใดที่ภิกษุยังนอนรักษาตัวอยู่ก็ต้องมีอาจารย์กรรมไปเฝ้าไข้้ตลอดเวลา อย่าให้เกินสองเลฑฑุบาตรไป
  • ๑.๓ อนาโรจนา แปลว่าการไม่บอก  กล่าวคือไม่บอกวัตร หรือ ไม่บอกอาการที่ตนประพฤติแก่คณะสงฆ์อาจารย์กรรมในสำนักที่ตนอยู่ประพฤติปริวาสนั้น การบอกวัตรของปริวาส ตามหลักพระวินัย เมื่อขอปริวาสแล้ว จะต้องบอกวัตรแก่คณะสงฆ์อาจารย์กรรมเพียงครั้งเดียวก็อยู่ไปจนครบ ๓ ราตรีก็ได้

๒. วัตตเภท

วัตตเภท แปลว่าความแตกต่างแห่งวัตร หรือความแตกต่างแห่งข้อปฏิบัติในขณะอยู่ประพฤติปริวาส คือ ทำให้วัตรมัวหมองด่างพร้อย ซึ่งเป็นการละเลยวัตร ละเลยหน้าที่ ไม่เอื้อเฟื้อต่อวัตรที่กำลังประพฤติอยู่ และกระทำผิดต่อพุทธบัญญัติโดยตรง เช่น หาอุปัฎฐากเข้ามารับใช้ในขณะอยู่ประพฤติปริวาส เข้านอนร่วมชายคาเดียวกันกับภิกษุผู้อยู่ปริวาสหรือคณะสงฆ์ซึ่งเป็นอาจารย์กรรม มีการนั่งบนอาสนะที่สูงกว่าอาสนะของคณะสงฆ์อาจารย์กรรม เหล่านี้ถือว่าเป็นวัตตเภท

สิ่งไหนเป็นรัตติเฉท หรือวัตตเภท ดังตัวอย่างเช่น ภิกษุหนึ่ง และภิกษุสอง เป็นเพื่อนสหธรรมิกไปอยู่ประพฤติปริวาสร่วมกัน เมื่อปฏิบัติกิจทางสังฆกรรมเสร็จแล้ว ภิกษุหนึ่งก็เข้ากลดแล้วนอนหลับไป ส่วนภิกษุสองนอนไม่หลับ ก็เข้าไปนอนเล่นในกลดของภิกษุหนึ่ง แล้วก็เผลอหลับไปจนสว่าง ซึ่งในกรณีนี้ ภิกษุหนึ่ง ผิดในส่วนของรัตติเฉท อย่างเดียว ส่วนภิกษุสองผิดทั้งรัตติเฉท และวัตตเภท ซึ่งกรณีเช่นนี้ถือเจตนาเป็นใหญ่ ฝ่ายใดก่อเจตนาฝ่ายนั้นเป็นทั้งรัตติเฉท และวัตตเภท ส่วนฝ่ายที่ไม่มีเจตนา ฝ่ายนั้นเป็นเพียง รัตติเฉท แต่ถ้าจะให้ละเอียดว่าทำไม ภิกษุหนึ่ง ซึ่งไม่ได้มีเจตนาทำไมถึงเป็นรัตติเฉท คำตอบก็เพราะว่า เป็นการอยู่ร่วมในที่มุงบังอันเดียวกัน ถือว่าเป็นรัตติเฉท ทั้งสิ้น ไม่มีกรณียกเว้น ถ้าไม่เก็บวัตร เพราะเงื่อนไขเป็นอจิตตกะ

ลำดับการบอกวัตร

๑. การสมาทานวัตร

การสมาทานวัตร หรือขึ้นวัตร เป็นวินัยกรรมเกี่ยวกับวุฎฐานวิธี อย่างหนึ่ง คือ เมื่อภิกษุต้องครุกาบัติแล้วอยู่ปริวาส ยังไม่ครบเวลาที่ปกปิดไว้ หรือ ประพฤติมานัตอยู่ยังไม่ครบ ๖ ราตรี พักปริวาสหรือมานัตเสียเนื่องจากมีเหตุอันจำเป็นอันควร เมื่อจะสมาทานวัตรใหม่เพื่อประพฤติปริวาสหรือมานัตที่เหลือนั้น เรียกว่าขึ้นวัตร หรือการสมาทานวัตร

การสมาทานวัตร นิยมสมาทานหลังจากที่เสร็จสิ้นการปฏิบัติธรรมประจำวัน จากนั้นก็แยกย้ายกันเข้าปรก พอได้เวลาตีสามหรือตามเวลาที่คณะสงฆ์กำหนด ก่อนทำวัตรเช้าก็สมาทานครั้งหนึ่ง ซึ่งการสมาทานวัตรเช่นนี้ไม่จำเป็นต้องสมาทานทั้งเช้าและเย็น เพราะการสมาทานวัตรนั้น ตราบใดที่ยังไม่มีการเก็บวัตร แล้ว ห้ามสมาทานซ้ำอีก ส่วนการบอกวัตร นั้น จะบอกวันละกี่ครั้งก็ได้ ซึ่งพระอรรถกถาจารย์ท่านได้กล่าวไว้ว่า

อนิกฺชิตฺตวตฺตสฺส ปุน วตฺตสมาทานกิจฺจํ นตฺถิฯ

แปลความว่า

กิจที่จะต้องสมาทานวัตรอีกย่อมไม่มีแก่ผู้มิได้เก็บวัตร หรือ สำหรับผู้มิได้เก็บวัตรไม่มีกิจที่จะต้องสมาทานวัตรอีก

หมายความว่าห้ามสมาทานวัตรซ้อนวัตร นั่นเอง

๒. การบอกวัตร

การบอกวัตร นั้น ขณะประพฤติปริวาสไม่จำเป็นต้องบอกวัตรทุกวันก็ได้ แต่การบอกทุกวันก็ไม่ได้มีข้อจำกัดอะไร และการบอกวัตรต้องบอกแก่คณะสงฆ์ที่เป็นอาจารย์กรรมหมดทุกรูปตราบใดที่ยังไม่ได้เก็บวัตร เมื่อเห็นพระอาคันตุกะมาก็ต้องบอกวัตรเช่นกันไม่ว่าเวลาไหน ถ้าไม่บอกก็เป็นรัตติเฉท ถ้ามีเจตนาไม่บอกก็เป็นอาบัติทุกกฎ และในเวลาที่พระอาคันตุกะผ่านมาและบอกวัตรนั้น มีขอบเขตเช่นไร ซึ่งมีมติของพระสังฆเสนาภยเถระ ว่า

วิสเย กิร อนาโรเจนฺคสฺส รตฺติจฺเฉทโท เจว วตฺตเภเท ทุกฺกฏญฺจ โหติ อวิสเย ปน อุภยํปิ ตนฺถิฯ

แปลความว่า

ได้ยินว่าเมื่อไม่บอกในวิสัยเป็นรัตติเฉทด้วย เป็นทุกกฎเพราะวัตตเภทด้วย แต่ในเหตุสุดวิสัยไม่เป็นทั้งสองอย่างฯ

— สมนต.๓/๒๘๙

ซึ่งเป็นมติที่เหมาะสม ดังพุทธพจน์ที่ว่า

อตฺเถสา ภิกฺขเว เจตนา สา จ โข อพฺโพหาริกาฯ

แปลความว่า

ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย! เจตนาเป็นเหตุยินดีนี้ มีอยู่, แต่เจตนานั้นแล ชื่อว่าเป็นอัพโพหาริก คือไม่เป็นองค์แห่งอาบัติ เพราะบังเกิดในฐานอันไม่ใช่วิสัย.

— อรรถกถา เตรสกัณฑ์ สังฆาทิเสส สิกขาบทที่ ๑

ซึ่งการบอกวัตรนี้จะบอกใคร นิกายไหน หรือมีความแตกต่างอย่างไรนั้น ซึ่งในคัมภีร์บาลีเดิมหรือชั้นอรรถกถาไม่ได้ใช้คำว่านิกาย แต่ดูความแตกต่างที่ลัทธิปฏิบัติ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็จะมีนิยามเกี่ยวกับนานาสังวาส และสมานสังวาส เช่น สงฆ์ฝ่ายธรรมยุต และ สงฆ์ฝ่ายมหานิกาย จะเป็น นานาสังวาส หรือ สมานสังวาส นั้นจะได้นำความเห็นของพระอรรถกถาจารย์ มากล่าวดังนี้

เยน สทฺธึ อุโปสถาทิโก สํวาโส อตฺถิ อยํ สมานสํวาสโก อิตโร นานาสํวาสโกฯ

แปลความว่า

ธรรมเป็นที่อยู่ร่วมกัน มีอุโบสถ เป็นต้น กับบุคคลใดมีอยู่ บุคคลนั้น ชื่อว่า สังวาสเสมอกันฯ บุคคลนอกนั้น ชื่อว่า ผู้เป็นนานาสังวาสกันฯ

— สมนต.๓/๔๙๑

ส่วนเรื่องเวลาบอกวัตร นั้น ก็ขึ้นอยู่ที่มติของคณะสงฆ์อาจารย์กรรมเป็นผู้กำหนด เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยแห่งสงฆ์ ซึ่งการบอกวัตรนี้สามารถกำหนดตั้งแต่ได้อรุณจนถึง ๙ โมงเช้า ส่วนการบอกวัตรแก่พระอาคันตุกะ ก็สุดแท้แต่สงฆ์จะเป็นผู้กำหนด จะบอกเป็นรายบุคคลหากมารูปเดียว หรือมาสองรูปบอกสองรูป หรือสามรูป หรือสี่รูป ซึ่งถ้าสี่รูปจึงบอกเป็นสงฆ์

  • หากเป็นรายบุคคล มารูปเดียว ใช้คำว่า "มํ อายสมา ธาเรตุ"
  • มาสองรูป ใช้คำว่า "มํ อายสฺมนตา ธาเรนตุ"
  • มาสามรูป ใช้คำว่า "มํ อายสฺมนฺโต ธาเรนฺตุ"
  • ส่วนสี่รูป ใช้คำว่า "มํ สงฺโฆ ธาเรตุ"

แต่เพื่อป้องกันความผิดพลาดและรัดกุมนั้น ควรบอกเป็นสงฆ์ดีที่สุด ไม่ว่าพระอาคันตุกะท่านจะมา หนึ่งรูป สองรูป สามรูป หรือสี่รูป หรือเกินนั้นก็ตาม เพราะถ้าบอกเป็นรายบุคคลก็ต้องนับพรรษาด้วย ดังนั้นจึงบอกเป็นสงฆ์ดีที่สุด เพราะทุกอย่างเป็นสังฆกรรมที่กระทำโดยสงฆ์ รับรองโดยสงฆ์ จึงใช้ "มํ สงฺโฆ ธาเรตุ" ดีที่สุด

๓. การเก็บวัตร

การเก็บวัตร ก็คือการพักวัตรไว้ชั่วระยะเวลาหนึ่ง ซึ่งที่นิยมนั้นก็จะเก็บวัตรในเวลากลางวัน ทั้งนี้ก็เพราะ เหตุที่ในเวลากลางวันนั้นอาจมีพระอาคันตุกะแวะเวียนผ่านมาบ่อย เมื่อเก็บวัตรแล้วก็ไม่จำเป็นต้องบอกวัตร ซึ่งประโยชน์ของการเก็บวัตรนั้น ก็คือ การไม่ต้องบอกวัตรบ่อยๆ และประโยชน์ในการที่คณะสงฆ์ทำสังฆกรรม เช่น ในวันออกอัพภาน ซึ่งอาจจะมีสงฆ์ไม่ครบองค์ตามพระวินัยกำหนด ซึ่งในกรณีนี้ท่านอนุญาตให้พระอัพภานารหภิกษุ (ภิกษุผู้ควรเรียกเข้าหมู่) ผู้เก็บวัตรแล้ว เข้าเป็นองค์นั่งในหัตถบาส เป็นปูรกะภิกษุ ให้ครบองค์สงฆ์ตามพระวินัยกำหนด ดังมีอรรถกถาว่า

คเณ ปน อปฺปโหนฺเต วตตํ นิกฺปิปาเปตฺวา คณปูรโก กาตพฺโพฯ

แปลความว่า

ก็เมื่อคณะไม่ครบพึงให้ ปริวาสิกภิกษุ เก็บวัตร แล้วทำให้เป็นคณะ ปูรกะก็ควรฯ

ทั้งนี้เพราะภิกษุผู้เก็บวัตรแล้ว ก็คือปกตัตตภิกษุ (สงฆ์ปกติ) ที่ไม่ได้เข้ากรรม หรือ

อยํ หิ นิกฺขิปิตตฺวตฺตตฺตา ปกตตฺตฏฺฐาเน ฐิโตฯ

แปลความว่า

จริงอยู่ภิกษุนี้ ชื่อว่าตั้งอยู่ในฐานะ ปกตัตตภิกษุเพราะเธอเก็บวัตรเสียแล้วฯ

ดังนั้น ในวันออกอัพภาน จึงไม่ต้องเก็บวัตร เพราะต้องเสียเวลาในการสมาทานวัตรและบอกวัตร และประโยชน์ของการไม่เก็บวัตรในวันออกอัพภาน ก็เพราะถ้าเก็บวัตรแล้วไม่สมาทานวัตรใหม่ คณะสงฆ์ก็ไม่สามารถสวดอัพภานให้ได้ เพราะสงฆ์จะทำกรรมกับผู้เก็บวัตรไม่ได้ ทั้งนี้เพราะผู้เก็บวัตรเป็นปกตัตตภิกษุ ดังบาลีว่า

ปกตฺตตสฺส จ อพฺภานํ กาตุ น วฏฺฏติ ตสฺมา วตฺตํ สมาทเปตพฺพํฯ วตฺเต สมาทินฺเน อพฺภานารโห โหติฯ เตน วตฺตํ สมาทิยิตฺวา อาโรเจตฺวา อพฺภานํ ยาจิตพฺพํฯ

แปลความว่า

และสงฆ์จะทำอัพภานแก่ปกตัตตภิกษุ ย่อมไม่ควร เพราะฉะนั้น พึงให้เธอสมาทานวัตร (ก่อน) ฯ เธอย่อมเป็นผู้ควรแก่อัพภาน ในเมื่อสมาทานวัตรแล้ว แม้เธอสมาทานวัตรแล้ว ก็ให้บอก (ก่อน) แล้วจึงขออัพภานฯ

นอกจากนี้ก็มีการเก็บวัตรเพื่อเป็นอุปัชฌาย์ในท่านที่เป็นอุปัชฌาย์ หรือเป็นอาจารย์สวดในท่านที่เป็นพระกรรมวาจา ดังบาลีว่า

อุปชฺฌา เยน หุตฺวา น อุปสมฺปาเทตพฺพํ วตฺตํ นิกฺขิปิตฺวา ปน อุปสมฺปาเหตํ วฏฺฏติฯ อาจริเยน หุตฺวา กมฺมวาจาปิ น สาเวตพฺพา อญฺญสฺมึ สกติ วตฺตํ นิกฺขิปิตฺวา สาเวตํ วฏฺฏติฯ

แปลความว่า

เป็นอุปัชฌาย์ ไม่พึงให้อุปสมบท แต่จะเก็บวัตรแล้วให้อุปสมบทควรอยู่ฯ เป็นพระกรรมวาจาแล้ว แม้กรรมวาจาแล้ว แม้กรรมวาจา ก็ไม่ควรสวด เมื่อภิกษุอื่นไม่มีจะเก็บวัตรแล้วสวด สมควรอยู่ฯ

แต่ทั้งนี้ก็ควรจะเอาไว้เป็นทางเลือกสุดท้ายตราบที่ยังมีสงฆ์ทำสังฆกรรมอยู่ ทั้งนี้ด้วยมีพระบาลีว่า

วิหารเชฏฺฐกฏฺฐานํ น กาตพฺพํ ปาฏิโมกฺขุทฺเทศเกน วา ธมฺมชฺเฌสเกน วา น ภวิตพฺพํฯ

แปลความว่า

(ภิกษุ ผู้ประพฤติวุฏฐานวิธี) ไม่พึงรับตำแหน่งหัวหน้าในวิหาร คือไม่พึงเป็นผู้สวดปาฏิโมกข์ หรือ เชิญแสดงธรรมฯ สมดังพระพุทธพจน์ที่ตรัสว่าดูก่อนภิกษุทั้งหลาย อันภิกษุผู้อยู่ปริวาสพึงประพฤติชอบ ด้วยการประพฤติดังต่อไปนี้... พึงพอใจด้วยอาสนะสุดท้าย ที่นอนสุดท้าย ที่สงฆ์จะพึงให้แก่เธอ ดังนี้ฯ

— วิ.จุล.๖/๗๖/๑๐๑

๒. มานัต

ความหมายและประเภทของมานัต

มานัต คือระเบียบปฏิบัติในการออกจากครุกาบัติ หมายถึงการนับราตรี เป็นเงื่อนไขต่อจากการประพฤติปริวาสของภิกษุผู้อยู่กรรม เมื่ออยู่ปริวาส ๓ ราตรี หรือตามที่คณะสงฆ์กำหนดแล้ว เมื่อคณะสงฆ์พิจารณาว่า ปริวาสที่ภิกษุประพฤตินั้นบริสุทธิ์ในการพิจารณาของสงฆ์แล้ว สงฆ์ก็จะเรียกผู้ประประพฤติปริวาสนั้นว่ามานัตตารหภิกษุ แปลว่าภิกษุผู้ควรแก่มานัต

มานัต หรือการนับราตรี นั้น มีอยู่ ๔ อย่าง คือ

  • อัปปฏิจฉันนมานัต คือ เป็นมานัตที่ภิกษุไม่ต้องอยู่ปริวาส สามารถขอมานัตได้เลย ยกเว้นพวกเดียรถีย์ต้องอยู่ปริวาส ๔ เดือน
  • ปฏิฉันนมานัต คือ มานัตที่ให้แก่ภิกษุผู้ปิดอาบัติไว้ หรือมิได้ปิดไว้ก็ตาม
  • ปักขมานัต คือ มานัตที่ให้แก่ภิกษุณี ๑๕ ราตรีเท่านั้น(ครึ่งปักษ์) จะปิดอาบัติไว้หรือมิได้ปิดไว้ก็ตาม
  • สโมธานมานัต คือ มานัตที่มีไว้เพื่ออาบัติที่ประมวลเข้าด้วยกันอันเนื่องมาจากสโมธานปริวาส นั้น ทั้งนี้สโมธานมานัต นี้เป็นมานัต ที่สงฆ์นิยมใช้กันมากที่สุดในปัจจุบัน

มานัต หรือการนับราตรี นั้น ได้แก่ การนับราตรี ๖ ราตรีเป็นอย่างน้อย ซึ่งเกินกว่านี้ไม่เป็นไร แต่ถ้าน้อยกว่า ๖ ราตรีไม่ได้ ซึ่งเป็นพระวินัยกำหนดไว้เช่นนั้น ซึ่งการนับราตรีของมานัต นั้นก็มีเงื่อนไขที่ทำให้นับราตรี ไม่ได้เช่นกัน เรียกว่าการขาดแห่งราตรี หรือ การนับราตรีเป็นโมฆะ ซึ่งการนับราตรีไม่ได้นี้เรียกว่ารัตติเฉท

เงื่อนไขการปฏิบัติขณะที่อยู่ประพฤติมานัต

รัตติเฉท (สำหรับมานัต)

รัตติเฉท หรือเงื่อนไขที่ทำให้นับราตรีไม่ได้ สำหรับมานัต มีด้วยกัน ๔ อย่าง ดังนี้

  • สหวาโส คือการอยู่ร่วม มีข้อกำหนดเหมือนปริวาส ไม่มีข้อแตกต่างกัน
  • วิปปวาโส คือการอยู่ปราศ หรืออยู่ในถิ่นอาวาสที่ไม่มีสงฆ์อยู่เป็นเพื่อน ในส่วนข้อนี้มีความแตกต่างตรงที่การประพฤติปริวาสนั้นจะสมาทานประพฤติวัตรกับคณะสงฆ์อาจารย์กรรมรูปเดียวก็ได้ แต่มานัต นั้น ต้องสมาทานกับสงฆ์ตั้งแต่ ๔ รูปขึ้นไป หรือ ในกรณีที่ภิกษุผู้ประพฤติปริวาสเกิดเจ็บไข้ได้ป่วย อาพาธขึ้นในระหว่างมานัต จำต้องไปพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลก็ต้องมีสงฆ์อย่างน้อย ๔ รูป ไปเฝ้าไข้ ซึ่งถ้าไม่ทำเช่นนั้นก็ต้องอนุญาตให้ไปรักษาอาพาธนั้นให้หายเป็นปกติก่อน เมื่อหายเป็นปกติแล้ว ให้ภิกษุนั้นกลับมาสมาทานวัตรเพียงรูปเดียวในภายหลัง (แต่ถ้าเก็บวัตรแล้วก็ไม่เป็นไร) ส่วนการบอกวัตรนั้น ถ้าบอกเป็นครั้งแรกในวันนั้น ต้องบอกกับสงฆ์หมดทุกรูป แต่ถ้าการบอกวัตรนั้นเป็นการบอกครั้งที่สองไม่ต้องบอกหมดทุกรูป ยกเว้นเมื่อบอกวัตรไปแล้วในขณะนั้น แต่ชั่วครู่นั้นมีพระอาคันตุกะแวะเวียนเข้ามา การบอกวัตรครั้งที่สองนี้จะบอกเดี่ยวสำหรับพระอาคันตุกะ หรือจะบอกเป็นสงฆ์ก็ได้ขึ้นอยู่ที่คณะสงฆ์พระอาจารย์กรรมกำหนด ซึ่งถ้าบอกเป็นสงฆ์ก็ต้องหาพระอาจารย์กรรมรวมทั้งพระอาคันตุกะนั้นให้ครบองค์สงฆ์คือ ๔ รูป แต่ส่วนมากจะบอกเดี่ยวเพื่อความสะดวกรวดเร็ว
  • อนาโรจนา คือการไม่บอกวัตรที่ประพฤติ ซึ่งการประพฤติมานัต นั้น จะต้องบอกวัตรทุกวัน ไม่บอกไม่ได้ แตกต่างกับปริวาส ซึ่งจะบอกก็ได้ไม่บอกก็ได้ เพราะอยู่ปริวาสนั้นบอกวัตรครั้งเดียวแล้วอยู่ต่อไปอีกสามวันโดยที่ไม่บอกอีกก็ได้ ทั้งนี้หมายความว่า จะต้องไม่ทำผิดกฏข้ออื่นๆ อีก
  • อูเน คเณ จรณํ คือการประพฤติวัตรในคณะอันพร่อง หมายถึง การประพฤติวัตรของพระมานัตในที่ที่มีสงฆ์ไม่ครบ ๔ รูปตามพระวินัยกำหนด เช่นนี้ถือว่าประพฤติวัตรในคณะอันพร่อง ซึ่งจะทำให้การนับราตรีเป็นโมฆะ นับราตรีไม่ได้

๓. อัพภาน

อัพภาน คือการที่สงฆ์เรียกเข้าหมู่ หรือ การที่ภิกษุท่านได้ชำระสิกขาบทที่ได้ทำให้ตนมัวหมอง จนผ่านขั้นตอนการอยู่ประพฤติปริวาส การขอมานัต นับราตรีจนครบกระบวนการขั้นตอนของการประพฤติวุฏฐานวิธี ตามที่พระวินัยกำหนด จนมาถึงขั้นตอนสุดท้ายคือ สงฆ์เรียกภิกษุนั้นเข้าหมู่แห่งสงฆ์ เป็นสงฆ์ปกติไม่มีความมัวหมองด่างพร้อยติดตัวแล้ว จึงเป็นการให้อัพภาน

ซึ่งการให้อัพภาน นี้ พระวินัยกำหนดให้สงฆ์สวดเรียกเข้าหมู่โดยต้องใช้สงฆ์สวดจำนวน ๒๐ รูป ขึ้นไป เมื่อสงฆ์ ๒๐ รูป ทำสังฆกรรมสวดเรียกเข้าหมู่ให้แล้ว ก็ถือเป็นสิ้นสุดกระบวนการประพฤติวุฏฐานวีธี ในทางพระวินัย ภิกษุนั้นๆ ก็ เป็นภิกษุผู้บริสุทธิ์ เป็นปริสุทโธ

การกำหนดองค์สงฆ์ที่ต้องทำสังฆกรรมในการประพฤติวุฏฐานวิธี มี ๒ ประเภท คือ

  • จตุวรรคสงฆ์ มีจำนวน ๔ รูป (หรือ ๕ รูปรวมองค์สวด) ให้ปริวาส ให้มานัต ให้ปฏิกัสสนาฯ
  • วีสติวรรคสงฆ์ มีจำนวน ๒๐ รูป (๒๑ รวมองค์สวด) ให้อัพภาน

วิธีการสวดให้ปริวาส และ อัพภาน มีอยู่ ๓ วิธี คือ

  • วิธีการขอหมู่ สวดหมู่ คือ ภิกษุผู้ประสงค์อยู่ประพฤติปริวาส ได้สวดขอปริวาส มานัตและอัพภาน ซึ่งภิกษุที่ขอหมู่ก็คือ สงฆ์อนุญาตให้ภิกษุเข้าสวดขอปริวาสพร้อมกันครั้งละ ๓ รูป ส่วนคณะสงฆ์อาจารย์กรรมนั้นต้องใช้จำนวนสงฆ์ทั้งหมด ๕ รูป รวมองค์สวด (และ ๒๑ รูป กรณีให้อัพภาน)
  • วิธีการขอหมู่ สวดเดี่ยว คือ ภิกษุผู้ประสงค์อยู่ประพฤติปริวาส ได้สวดขอปริวาส มานัตและอัพภาน ซึ่งสงฆ์อนุญาตให้ภิกษุเข้าขอปริวาสพร้อมกันครั้งละ ๓ รูป แต่ให้สวดครั้งละหนึ่งรูปคือสวดองค์เดียว เดี่ยว ๆ ส่วนคณะสงฆ์อาจารย์กรรมนั้นต้องใช้จำนวนสงฆ์ทั้งหมด ๕ รูป รวมองค์สวด (และ ๒๑ รูป กรณีให้อัพภาน)
  • วิธีการขอเดี่ยว สวดเดี่ยว คือ สงฆ์อนุญาตให้ภิกษุเข้าขอปริวาสครั้งละ ๑ รูป และให้สวดครั้งละ หนึ่งรูปคือสวดองค์เดียวเดี่ยว ๆ ส่วนคณะสงฆ์อาจารย์กรรมนั้นต้องใช้จำนวนสงฆ์ทั้งหมด ๕ รูป รวมองค์สวด (และ ๒๑ รูป กรณีให้อัพภาน)

คำกล่าวสำหรับการประพฤติวุฏฐานวิธี

วิธีการขอปริวาสกรรม

ภิกษุผู้จะขอปริวาส พึงเตรียมดอกไม้ธูปเทียนให้พร้อม ห่มผ้า เฉวียงบ่า (ห่มดองรัดอกแบบจีบจีวร) เข้าไปหาสงฆ์์อย่างน้อย ๔ รูป ในเขตพัทธสีมา แล้วถวายเครื่องสักการะ ครั้นถวาย สักการะแล้ว กราบสามครั้ง ถอยห่างจากหัตถบาสสงฆ์ในระยะ พอสมควรแล้ว กล่าวคำขอจุลสุทธันตปริวาสต่อสงฆ์ดังนี้

คำขอสุทธันตปริวาสอย่างจุลสุทธันตะ

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิง อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โสหัง ภันเต สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ยาจามิ.

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิง อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โสหัง ทุติยัมปิ  ภันเต สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ยาจามิ.

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิง อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โสหัง ตะติยัมปิ  ภันเต สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ยาจามิฯ.

แปลความว่า

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ที่สุดแห่งอาบัติ บางอย่างข้าพเจ้ารู้ บางอย่างข้าพเจ้าไม่รู้ ที่สุดแห่งราตรี บางอย่างรู้ บางอย่างไม่รู้ ที่สุดแห่งอาบัติ บางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ ที่สุดแห่งอาบัติ บางอย่างสงสัย บางอย่างไม่สงสัย ข้าพเจ้าขอปริวาสเพื่อความบริสุทธิ์ของอาบัติเหล่านั้น กะสงฆ์ เป็นครั้งที่ ๑ เป็นครั้งที่ ๒ เป็นครั้งที่ ๓

กรรมวาจาให้สุทธันตปริวาส (คำที่ขีดเส้นใต้ให้ใส่ชื่อพระภิกษุที่ขอสุทธันตปริวาส)

สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ วัตตัง นิกขิปามิ ปะริวาสัง นิกขิปามิ ทุติยัมปิ วัตตัง นิกขิปามิ ปะริวาสัง นิกขิปามิ ตะติยัมปิ วัตตัง นิกขิปามิ ปะริวาสัง นิกขิปามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ สะราติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ สะราติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจะติ ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง สังโฆ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ทะเทยยะ เอสา ญัตติ.

สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจะติ สังโฆ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง เทติ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัสสะ ทานัง โน ตุณหัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ.

ทุติยัมปิ  เอตะมัตถัง วะทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจะติ สังโฆ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง เทติ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัสสะ ทานัง โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ.

ตะติยัมปิ  เอตะมัตถัง วะทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจะติ สังโฆ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง เทติ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัสสะ ทานัง โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะ.

ทินโน สังเฆนะ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาโส ขะมะติ สังฆัสสะ ตัสมา ตุณหิ เอวะเมตัง ธาระยามิฯ

แปลความว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุรูปนี้ ชื่อนี้ ได้ต้องอาบัติ สังฆาทิเสสหลายตัว ที่สุดแห่งอาบัติที่สุดแห่งราตรี บางอย่างเธอรู้ บางอย่างเธอไม่รู้ บางอย่างเธอระลึกได้ บางอย่างเธอระลึกไม่ได้ บางอย่างเธอสงสัย บางอย่างเธอไม่สงสัย เธอขอปริวาส เพื่อความบริสุทธิ์พ้นจากอาบัติเหล่านั้น กะสงฆ์ ถ้าความพร้อมเพรียงของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้ปริวาสเพื่อความบริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้นแก่เธอ นี่เป็นการปรึกษาของสงฆ์
เธอขอปริวาสเพื่อความบริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้น กะสงฆ์ สงฆ์พร้อมใจให้ปริวาส เพื่อความบริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุรูปนี้ การให้ปริวาสเพื่อความบริสุทธิ์ จากอาบัติแก่ภิกษุชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง หากไม่ชอบแก่ผู้ใด ผู้นั้นพึงทักท้วงขึ้น ข้าพเจ้ากล่าวคำนี้ ๑ ครั้ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้ง แล้ว เมื่อสงฆ์ให้ปริวาส เพื่อความบริสุทธิ์แก่ภิกษุรูปนี้ชอบแล้วจึงเป็นผู้นิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ ด้วยประการนี้แลฯ

คำสมาทานปริวาส

ปริวาสัง สะมาทิยามิ วัตตัง สะมาทิยามิ

ทุติยัมปิ  ปะริวาสัง สะมาทิยามิ วัตตัง สะมาทิยามิ

ตะติยัมปิ  ปะริวาสัง สะมาทิยามิ วัตตัง สะมาทิยามิฯ

แปลความว่า

ข้าพเจ้าสมาทานปริวาส ข้าพเจ้าขึ้นวัตร ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓

คำบอกสุทธันตปริวาส

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิง อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โสหัง สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โสหัง ปะริวาสามิ เวทะยามะหัง ภันเต เวทะยะตีติ มัง สังโฆ ธาเรตุฯ

แปลความว่า

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสส ที่สุดแห่งอาบัติ ที่สุดแห่งราตรี บางอย่างรู้ บางอย่างไม่รู้บางอย่างสงสัย บางอย่างไม่สงสัย ข้าพเจ้าขอปริวาสเพื่อความบริสุทธิ์ของอาบัติ กะสงฆ์ สงฆ์ให้ปริวาสเพื่อความบริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้นแก่ข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้ากำลังอยู่ปริวาส ข้าพเจ้าบอกให้รู้ ขอสงฆ์จงทรงข้าพเจ้าไว้ว่า ได้บอกให้รู้แล้ว เทอญฯ

การเก็บปริวาส

วัตตัง นิกขิปามิ ปะริวาสัง นิกขิปามิ

ทุติยัมปิ  วัตตัง นิกขิปามิ ปะริวาสัง นิกขิปามิ

ตะติยัมปิ  วัตตัง นิกขิปามิ ปะริวาสัง นิกขิปามิ

วิธีการขอมานัต

ภิกษุผู้ประพฤติปริวาสพอสมควรและถูกต้องตามพระวินัยแล้ว ชื่อว่าเป็นมานัตตารหะ ผู้ควรแก่มานัต เมื่อจะขอมานัต พึงเตรียมดอกไม้ธูปเทียนให้พร้อม ห่มผ้าเฉวียงบ่า (ห่มดองรัดอกแบบจีบจีวร) เข้าไปหาสงฆ์อย่างน้อย ๔ รูป ในเขตพัทธสีมา แล้วถวายเครื่องสักการะดอกไม้ธูปเทียน ครั้นถวายสักการะแล้ว นั่งคุกเข่ากราบ ๓ หน ตั้งนะโม ๓ จบ ถอยห่างจากหัตถบาสสงฆ์ในระยะพอสมควรแล้วกล่าวคำสมาทานปริวาสและบอกปริวาสต่อสงฆ์ (ดังคำสมาทานและคำบอกที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว) เมื่อได้กล่าวสมาทานปริวาสแล้วบอกปริวาส ครั้นบอกแล้ว เข้าไปหัตถบาสสงฆ์ ขอมานัตต่อสงฆ์ดังนี้

คำขอมานัต

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิง อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โสหัง สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โสหัง ภันเต ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจามิ.

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิง อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โสหัง สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โสหัง ปะริวุตถะปะริวาโส ทุติยัมปิ ภันเต สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจามิ.

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิง อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โสหัง สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โสหัง ปะริวุตถะปะริวาโส ตะติยัมปิ ภันเต สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจามิ.

แปลความว่า

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ที่สุดแห่งอาบัติ ที่สุดแห่งราตรี บางอย่างรู้ บางอย่างไม่รู้ บางอย่างสงสัย บางอย่างไม่สงสัย ข้าพเจ้าขอปริวาส กะสงฆ์แล้ว เพื่อความบริสุทธิ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสเพื่อความบริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้นแก่ข้าพเจ้า ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าอยู่ปริวาสแล้ว จึงขอมานัต ๖ ราตรี กะสงฆ์ เพื่ออาบัติเหล่านั้น ข้าพเจ้าขอเป็นครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓ ฯ

กรรมวาจาให้มานัต (คำที่ขีดเส้นใต้ให้ใส่ชื่อพระภิกษุที่ขอมานัต)

สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โส ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจะติ ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง สังโฆ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ทะเทยะ เอสา ญัตติฯ

สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โส ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจะติ สังโฆ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง เทติ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัสสะ ทานัง โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะฯ

ทุติยัมปิ  เอตะมัตถัง วะทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิโส ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจะติ สังโฆ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง เทติ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัสสะ ทานัง โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะฯ

ตะติยัมปิ  เอตะมัตถัง วะทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โส ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจะติ สังโฆ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง เทติ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัสสะ ทานัง โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะฯ

ทินนัง สังเฆนะ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ขะมะติ สังฆัสสะ ตัสมา ตุณหี เอวะเมตัง ธาระยามิฯ

แปลความว่า

เธอได้ขอปริวาสเพื่อความบริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้น กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสเพื่อความบริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุ ชื่อนี้ เธออยู่ปริวาสแล้วขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติเหล่านั้น กะสงฆ์ ถ้าความพร้อมพรั่งของสงฆ์ถึงที่แล้ว สงฆ์พึงให้มานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ นี่เป็นการปรึกษาของสงฆ์
ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุรูปนี้ ชื่อนี้ ได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว เธอขอปริวาสแล้ว สงฆ์ได้ให้ปริวาสแล้ว เธออยู่ปริวาสแล้วขอมานัต เพื่ออาบัติเหล่านั้น กะสงฆ์แล้ว สงฆ์ให้มานัตเพื่อความบริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้นแก่ภิกษุชื่อนี้ ชอบแก่ท่านผู้ใด ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง หากไม่ชอบแก่ผู้ใดผู้นั้นพึงทักท้วงขึ้น ข้าพเจ้ากล่าวคำนี้ ๑ ครั้ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้งแล้วแลฯ เป็นอันว่าสงฆ์ได้ให้มานัต ชอบแก่สงฆ์แล้ว เพราะเหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้แลฯ

คำสมาทานมานัต

มานัตตัง สมาทิยามิ วัตตัง สะมาทิยามิ

ทุติยัมปิ  มานัตตัง สะมาทิยามิ วัตตัง สะมาทิยามิ

ตะติยัมปิ  มานัตตัง สะมาทิยามิ วัตตัง สะมาทิยามิ

แปลความว่า

ข้าพเจ้าสมาทานมานัต ข้าพเจ้าขึ้นวัตร ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓

คำบอกมานัต

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิง อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โสหัง สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โสหัง ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง อะทาสิ โสหัง มานัตตัง จะรามิ เวทะยามะหัง ภันเต เวทะยะตีติ มัง สังโฆ ธาเรตุ.

แปลความว่า

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ที่สุดแห่งอาบัติ ที่สุดแห่งราตรี บางอย่างรู้ บางอย่างไม่รู้ บางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ บางอย่างสงสัย บางอย่างไม่สงสัย ข้าพเจ้าได้ขอปริวาส กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสแล้ว ข้าพเจ้ากำลังประพฤติวุฏฐานวิธีแล้ว ได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติเหล่านั้น กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัตแล้ว ข้าพเจ้ากำลังปฏิบัติอยู่ ข้าพเจ้าบอกให้รู้แล้ว ขอสงฆ์จงทรงไว้ว่า บอกให้รู้เทอญฯ

คำเก็บมานัต

วัตตัง นิกขิปามิ มานัตตัง นิกขิปามิ

ทุติยัมปิ  วัตตัง นิกขิปามิ มานัตตัง นิกขิปามิ

ตะติยัมปิ วัตตัง นิกขิปามิ มานัตตัง นิกขิปามิ

แปลความว่า

ข้าพเจ้าเก็บวัตร ข้าพเจ้าเก็บมานัต ครั้งที่ ๑ ครั้งที่ ๒ ครั้งที่ ๓

วิธีการขออัพภาน

ภิกษุผู้ประพฤติปริวาสพอสมควรและถูกต้องตามพระวินัยแล้ว ชื่อว่าเป็นมานัตตารหะ ผู้ควรแก่มานัต เมื่อมานัตตจาริกภิกษุ ประพฤติมานัต ๖ ราตรี โดยวินัยแล้วชื่อว่าเป็นอัพภานารหะ ผู้ควรอัพภาน เมื่อจะขออัพภาน พึงเตรียมดอกไม้ธูปเทียนให้พร้อม ห่มผ้าเฉวียงบ่า (ห่มดองรัดอกแบบจีบจีวร) เข้าไปหาสงฆ์ อย่างน้อย ๒๐ รูป ในเขตพัทธสีมา แล้วถวายเครื่องสักการะ ดอกไม้ธูปเทียน ครั้นถวายสักการะแล้ว นั่งคุกเข่ากราบ ๓ หน ตั้งนะโม ๓ จบ ถอยห่างจากหัตถบาสสงฆ์ในระยะพอสมควร แล้วกล่าวคำสมาทานมานัต (ดังคำสมาทานมานัตที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว) เมื่อกล่าวคำสมาทานมานัตแล้วจึงถอยห่างจากหัตถบาสสงฆ์ในระยะพอสมควร แล้วบอกมานัตต่อสงฆ์ (ดังคำสมาทานและคำบอกที่กล่าวไว้ข้างต้นแล้ว) เมื่อได้กล่าวมานัตแล้ว จึงเข้าไปในหัตถบาสสงฆ์ แล้วกล่าวคำขออัพภานต่อสงฆ์วีสติวรรค คือ ๒๐ รูป (๒๑ รูป รวมองค์สวด) เป็นอย่างน้อย ขออัพภานต่อสงฆ์ดังนี้์

คำขออัพภาน

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิง อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โสหัง สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โสหัง ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง อะทาสิ โสหัง ภันเต จิณณะมานัตโต สังฆัง อัพภานัง ยาจามิ

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิง อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โสหัง สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โสหัง ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง อะทาสิ โสหัง จิณณะมานัตโต ทุติยัมปิ  ภันเต สังฆัง อัพภานัง ยาจามิ

อะหัง ภันเต สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิง อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานามิ เอกัจจัง นะ ชานามิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะรามิ เอกัจจัง นะ สะรามิ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โสหัง สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปริวาสัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โสหัง ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจิง ตัสสะ เม สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง อะทาิสิ โสหัง จิณณะมานัตโต ตะติยัมปิ  ภันเต สังฆัง อัพภานัง ยาจามิฯ

แปลความว่า

ท่านเจ้าข้า ข้าพเจ้าต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว (ต่อไปนี้นัยเหมือนหนหลัง)... ข้าพเจ้าได้ขอปริวาส กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้ปริวาสแล้ว จึงได้ขอมานัต ๖ ราตรี เพื่ออาบัติเหล่านั้น กะสงฆ์ สงฆ์ได้ให้มานัตแล้ว เพื่อความบริสุทธิ์ของข้าพเจ้า ข้าพเจ้าประพฤติมานัติ ๖ ราตรีแล้ว จึงขออัพภานแก่สงฆ์ ดังนี้ ขอสงฆ์จงกรุณาให้อัพภานแก่ข้าพเจ้าเทอญฯ

กรรมวาจาให้อัพภาน (คำที่ขีดเส้นใต้ให้ใส่ชื่อพระภิกษุที่ขออัพภาน)

สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิโส ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง อะทาสิ โส จิณณะมานัตโต สังฆัง อัพภานัง ยาจะติ ยะทิ สังฆัสสะ ปัตตะกัลลัง สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง อัพเภยยะ เอสา ญัตติ.

สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โส ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง อะทาสิ โส จิณณะมานัตโต สังฆัง อัพภานัง ยาจะติ สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง อัพเภติ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน อัพภานัง โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะฯ

ทุติยัมปิ  เอตะมัตถัง วะทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โส ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง อะทาสิ โส จิณณะมานัตโต สังฆัง อัพภานัง ยาจะติ สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง อัพเภติ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน อัพภานัง โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะฯ

ตะติยัมปิ  เอตะมัตถัง วะทามิ สุณาตุ เม ภันเต สังโฆ อะยัง อิตถันนาโม ภิกขุ สัมพะหุลา สังฆาทิเสสา อาปัตติโย อาปัชชิ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง ชานาติ เอกัจจัง นะ ชานาติ อาปัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ รัตติปะริยันตัง เอกัจจัง สะระติ เอกัจจัง นะ สะระติ อาปัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก รัตติปะริยันเต เอกัจเจ เวมะติโก เอกัจเจ นิพเพมะติโก โส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง สุทธันตะปะริวาสัง อะทาสิ โส ปะริวุตถะปะริวาโส สังฆัง ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง ยาจิ ตัสสะ สังโฆ ตาสัง อาปัตตีนัง ฉารัตตัง มานัตตัง อะทาสิ โส จิณณะมานัตโต สังฆัง อัพภานัง ยาจะติ สังโฆ อิตถันนามัง ภิกขุง อัพเภติ ยัสสายัสมะโต ขะมะติ อิตถันนามัสสะ ภิกขุโน อัพภานัง โส ตุณหัสสะ ยัสสะ นักขะมะติ โส ภาเสยยะฯ

อัพภิโต สังเฆนะ อิตถันนาโม ภิกขุ ขะมะติ สังฆัสสะ ตัสมา ตุณหี เอวะเมตัง ธาระยามิฯ

แปลความว่า

ท่านเจ้าข้า ขอสงฆ์จงฟังข้าพเจ้า ภิกษุรูปนี้ ชื่อนี้ ได้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสหลายตัว ที่สุดแห่งอาบัติ ที่สุดแห่งราตรี บางอย่างรู้ บางอย่างไม่รู้ บางอย่างระลึกได้ บางอย่างระลึกไม่ได้ บางอย่างสงสัย บางอย่างไม่สงสัย เธอขอปริวาส กะสงฆ์แล้ว สงฆ์ได้ให้ปริวาสแก่เธอแล้ว เธอได้ประพฤติวุฏฐานวิธีพอสมควรแล้ว จึงขอมานัต ๖ ราตรี กะสงฆ์ สงฆ์ให้มานัตเพื่อความบริสุทธิ์จากอาบัติเหล่านั้นแล้ว เธอขออัพภาน กะสงฆ์ สงฆ์ให้อัพภาน (คือ เรียกเข้าหมู่มีสังวาสเสมอกับสงฆ์) การให้อัพภานแก่ภิกษุ ชื่อนี้ชอบแก่ท่านผู้ใด ผู้นั้นพึงเป็นผู้นิ่ง หากไม่ชอบแก่ผู้ใด ผู้นั้นพึงทักท้วงขึ้น ข้าพเจ้ากล่าวคำนี้ ๑ ครั้ง ๒ ครั้ง ๓ ครั้งแล้วแลฯ จึงถือว่าภิกษุรูปนี้อันสงฆ์อัพภานแล้ว ชอบแก่สงฆ์เหตุนั้นจึงนิ่ง ข้าพเจ้าทรงความนี้ไว้ด้วยประการนี้แลฯ

...เป็นอันเสร็จสิ้นการประพฤติวุฏฐานวิธี.

ประโยชน์และวัตถุประสงค์ของปริวาสกรรม

  • เพื่อดำรงธรรมวินัยให้ยั่งยืน เพราะมีครูบาอาจารย์มาให้ความรู้ทางธรรม ทั้งด้านปริยัติธรรมและการปฏิบัติธรรม
  • เพื่ออนุเคราะห์กุลบุตรที่บวชมา และต้องการชำระสิกขาบท (ศีล) ให้บริสุทธิ์
  • เพื่อเปิดโอกาสให้นักปฏิบัติธรรมได้เจริญสมถะ วิปัสสนากรรมฐาน ทั้งภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา
  • เป็นการรวมพระภิกษุต่างถิ่นต่างอาวาสได้อย่างมาก บ่งบอกถึงความสามัคคีในหมู่สงฆ์ว่ายังแน่นแฟ้นดีอยู่ เป็นนิมิตหมายแห่งความเจริญในพระพุทธศาสนา