พิธี คือแบบอย่าง แบบแผน หรือรูปแบบต่างๆ ที่พึงปฏิบัติในทางศาสนา โดยเฉพาะพุทธศาสนาเรียกว่าศาสนพิธี ซึ่งเป็นเรื่องที่มีด้วยกันทุกศาสนา และเป็นเรื่องเกิดขึ้นทีหลังศาสนา กล่าวคือ มีศาสนาเกิดขึ้นก่อนแล้วจึงมีพิธีต่างๆ เกิดตามมาภายหลัง โดยเหตุเกิดศาสนพิธีในพุทธศาสนานี้ เนื่องจากมีหลักการของพุทธศาสนาซึ่งพระพุทธเจ้าทรงวางไว้ตั้งแต่ในปีที่ตรัสรู้ เพื่อสาวกจะได้ถือเป็นหลักในการออกไปประกาศพระศาสนา เรียกว่า โอวาทปาติโมกข์ มีหลักการสำคัญ ๓ ประการคือ ๑. สอนไม่ให้ทำความชั่วทั้งปวง ๒. สอนให้อบรมกุศลให้พร้อม ๓. สอนให้ทำจิตใจของตนให้ผ่องแผ้ว เป็นอันว่าพุทธบริษัทต้องพยายามเลิกละความประพฤติชั่วทุกอย่าง จนเต็มความสามารถ และพยายามสร้างกุศลสำหรับตนให้พร้อมเท่าที่จะสร้างได้ กับพยายามชำระจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ เป็นการพยายามทำดี เรียกว่าทำบุญ พระพุทธเจ้าทรงแสดงวัตถุ คือที่ตั้งอันเป็นทางไว้โดยย่อๆ ๓ ประการ เรียกว่าบุญกิริยาวัตถุ คือ ๑. ทาน คือการบริจาคสิ่งของของตนให้เป็นประโยชน์แก่ผู้อื่น ๒. ศีล คือการรักษากายวาจาให้สงบเรียบร้อยไม่ล่วงพุทธบัญญัติ ๓. ภาวนา คือการอบรมจิตใจให้ผ่องใสในทางกุศล
บุญกิริยานี้เอง เป็นแนวให้พุทธบริษัทปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวข้างต้น และเป็นเหตุให้เกิดศาสนพิธีต่างๆ ขึ้นโดยนิยม กล่าวคือ ในกาลต่อๆ มา พุทธบริษัทนิยมทำบุญ ไม่ว่าจะปรารภเหตุใดๆ ก็ให้เข้าหลักบุญกิริยาวัตถุ ๓ นี้ โดยเริ่มต้นมีการรับศีล ต่อไปภาวนาด้วยการสวดมนต์เองหรือฟังพระสวดแล้วส่งใจไปตาม จบลงด้วยการบริจาคทานตามสมควร เพราะนิยมทำบุญเป็นการบำเพ็ญความดีดังกล่าวนี้ และทำในกรณีต่าง ๆ กันตามเหตุที่ปรารภ จึงเกิดพิธีกรรมขึ้นมากประการ เมื่อพิธีกรรมใด เป็นที่นิยมและรับรองปฏิบัติสืบต่อมาจนเป็นประเพณี พิธีกรรมนั้นก็กลายเป็นศาสนพิธีขึ้น
พิธีกรรมทางศาสนานั้น เปรียบเสมือนเปลือกของต้นไม้ ต้นไม้ที่ปราศจากเปลือกห่อหุ้ม ย่อมไม่สามารถยืนต้นอยู่ได้
กฐิน (บาลี: กะ-ฐิ-นะ) เป็นชื่อเรียกผ้าไตรจีวร ที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตให้แก่พระภิกษุสงฆ์ ๕ รูปขึ้นไป ซึ่งอยู่ในวัดเดียวกัน และเป็นผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส (๓ เดือน) ตั้งแต่แรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ถึง ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ โดยไม่ขาดพรรษา ทั้งนี้ การถวายผ้ากฐินนั้น จัดเป็นสังฆทาน คือถวายแก่คณะสงฆ์โดยไม่เจาะจงภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง เพื่อให้คณะสงฆ์นำผ้าไปอปโลกน์ ยกให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่งตามที่คณะสงฆ์ลงมติ (ญัตติทุติยกรรมวาจา) กฐินไม่ได้หมายถึงเงินหรือทอง ตามที่เข้าใจกันเป็นส่วนมากในปัจจุบัน
ปริวาส เป็นชื่อของสังฆกรรม ประเภทหนึ่งที่สงฆ์จะพึงกระทำ ซึ่งในปัจจุบันนี้เป็นที่รู้จักแพร่หลายในหมู่พระภิกษุสงฆ์ ซึ่งการอยู่ปริวาสเรียกได้อีกอย่างหนึ่งว่าการอยู่กรรม จึงนิยมเรียกรวมกันว่าปริวาสกรรม
ปริวาส หมายถึงการอยู่ใช้ หรือการอยู่รอบ หรือเรียกสามัญว่าการอยู่กรรม (วุฏฐานวิธี) คืออยู่ให้ครบกระบวนการ สิ้นสุดกรรมวิธีทุกขั้นตอนของการอยู่ปริวาสกรรม ทั้งนี้ก็เพื่อให้ผู้อยู่ใช้กรรมหรือความผิดที่ได้ล่วงละเมิดพระวินัยต้องอาบัติสังฆาทิเสส ซึ่งอาจจะล่วงละเมิดโดยความตั้งใจหรือไม่ได้ตั้งใจ หรืออาจล่วงละเมิดโดยรู้ตัวหรือไม่รู้ตัวก็ดีนั้น ให้พ้นมลทิน หมดจดบริสุทธิ์ไม่มีเหลือเครื่องเศร้าหมองอันจะเป็นอุปสรรคในการประพฤติปฏิบัติบำเพ็ญในทางจิตของพระภิกษุสงฆ์
การเทศน์มหาชาติ พุทธศาสนิกชนชาวไทยสืบทอดเป็นประเพณีกันมาช้านาน จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตแบบไทยๆ เพราะเป็นประเพณีที่ให้ทั้งความสนุกสนาน สร้างความสมานสามัคคีในชุมชน และสอดแทรกการอบรมสั่งสอนศีลธรรมคุณธรรมแก่ประชาชนผู้ร่วมกิจกรรมไปพร้อมกัน
เรื่องที่นำมาใช้ในการเทศน์มหาชาติ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับพระเวสสันดร อันเป็นพระชาติสุดท้ายของพระบรมโพธิสัตว์ ก่อนที่จะมาประสูติเป็นเจ้าชายสิทธัตถะ ภายหลังออกบวชจนได้ตรัสรู้อนุตรสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระโคตมพุทธเจ้า พระพุทธเจ้าของเราทั้งหลายในกาลปัจจุบันนั้นเอง
ปฏิบัติธรรมสืบสานเจตนารมณ์พระเดชพระคุณคุณูปมาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ธ) และรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร โดย ท่าน อ.ลักษณ์ พุทธธรรม (ธ)
นอบน้อม เชิดชู ปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ทุกๆ พระองค์
สถานที่นี้เป็นสถานที่สงบ ฝึกใจ ฝึกตน หากใจยังสกปรกจงกลับไปยังที่ของท่านเถอะ
สถานที่นี้เป็นที่เจริญ มรรคมีองค์ ๘ พรหมวิหาร ๔ เพื่อความหลุดพ้น
สถานที่นี้ ไม่รับเจิม ดูดวง ประกอบพิธีกรรมทางโลกทุกกรณี
๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. เวลาพักผ่อนของท่านอาจารย์ ห้ามรบกวนโดยเด็ดขาด
๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. เวลาที่ศิษยานุศิษย์และญาติธรรม สามารถเข้าพบและสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ได้ตามเหมาะสม
ศาลาภิรมย์ธรรม ๘๕/๑ ม.๓ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๖๐
ห้ามบุคคลภายนอก เข้าเขตหน่อแก้วยามวิกาล ในทุกกรณี
ห้ามศิษยานุศิษย์นำสิ่งเสพติดทุกชนิด เข้ามาภายในหน่อแก้วสถาน