วันสำคัญทางพุทธศาสนา เป็นวันที่มีเหตุการณ์ที่สำคัญ อันเนื่องด้วยพระรัตนตรัย คือพระพุทธเจ้า, พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า และพระสงฆ์สาวกของพระพุทธเจ้า เหตุการณ์ที่สำคัญดังกล่าว เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พุทธศาสนิกชนทุกหมู่เหล่า คือพุทธบริษัท ๔ ได้แก่ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก และอุบาสิกา ให้น้อมรำลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยในหลักที่สำคัญ เพื่อนำไปประพฤติปฏิบัติ เพื่อจรรโลงให้พระพุทธศาสนา ดำรงคงอยู่สถิตสถาพร เป็นคุณประโยชน์อันยิ่งใหญ่แก่ตนเองและแก่สัตว์โลกทั้งปวง ซึ่งมิใช่จำกัดอยู่เพียงมนุษยชาติเท่านั้น
เมื่อวันสำคัญทางพุทธศาสนาเวียนมาถึงแต่ละครั้ง พุทธศาสนิกชนพึงน้อมระลึกถึงคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ ด้วยการร่วมชุมนุมเพื่อประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนาตามพระอาราม ศาสนสถานต่างๆ โดยวันสำคัญแต่ละวัน ก็จะมีระเบียบพิธีปฏิบัติที่แตกต่างกันไป
พุทธชยันตี หรือสัมพุทธชยันตี (อังกฤษ: Sambuddha jayanthi) เป็นเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา คำว่าพุทธชยันตี มาจากศัพท์ พุทธ+ชยันตี (สันสกฤต: जयंती) ที่แปลว่าวันครบรอบ (อังกฤษ: Anniversary) ดังนั้น ในภาษาสันสกฤตพุทธชยันตี จึงแปลว่าการครบรอบวันเกิดของพระพุทธศาสนา หรือวันครบรอบชัยชนะของพระพุทธเจ้า ก็ได้
โดยคำนี้ใช้เรียกการจัดกิจกรรมในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้า เช่น ครบรอบ ๒๕๐๐ ปี แห่งปรินิพพาน หรือ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ โดยอาจใช้ชื่อต่างกันไปบ้างในแต่ละประเทศ เช่น ศรีสัมพุทธชันตี สัมพุทธชยันตี แต่ทั้งหมดก็คือการจัดกิจกรรมพุทธชยันตี เพื่อมุ่งหมายการถวายเป็นพุทธบูชาในปีที่ครบรอบวาระสำคัญของพระพุทธเจ้านั่นเอง
พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี หรือ พุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ (อังกฤษ: Buddhajanti: The Celebration of 2,600 Years of the Buddha’s Enlithenment) เป็นเทศกาลสำคัญทางพระพุทธศาสนาเถรวาท ที่มีความเกี่ยวเนื่องกับวันวิสาขบูชา เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ ๒๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา ในปี พ.ศ. ๒๕๕๕
การฉลองพุทธชยันตี ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ จัดขึ้นพร้อมกันในหลายประเทศ เช่น อินเดีย ศรีลังกา พม่า และประเทศไทย
โดยวัตถุประสงค์ของพุทธชยันตีในประเทศต่าง ๆ มุ่งการจัดกิจกรรมเพื่อถวายเป็นพุทธบูชาเป็นวาระพิเศษตลอดทั้งปี เช่น การจัดกิจกรรมพุทธบูชา การปฏิบัติธรรม และการจัดกิจกรรมเพื่อสังคม เพื่อเฉลิมฉลองรำลึกในโอกาสครบรอบ ๒,๖๐๐ ปี แห่งการตรัสรู้ของพระพุทธเจ้าในวันวิสาขบูชา เมื่อ ๔๕ ปี ก่อนพุทธศักราช (พุทธปรินิพพาน)
วันโกน คือ วันขึ้น ๗ ค่ำกับ ๑๔ ค่ำ และวันแรม ๗ ค่ำกับ ๑๔ ค่ำ ของทุกเดือน (หรือ วันแรม ๑๓ ค่ำ หากตรงกับเดือนขาด) ซึ่งเป็นวันก่อนวันพระ ๑ วัน เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ในประเทศไทยที่จะโกนผมในวันนี้
วันพระ มีชื่อเรียกแตกต่างกันไป กล่าวคือ ถ้าเป็นวัน ๘ ค่ำ ใช้ว่า วันอัฏฐมี วัน ๑๔ ค่ำ ใช้ว่า วันจาตุทสี และ ๑๕ ค่ำ ใช้ว่า วันปัณณรสี
วันพระ หรือวันอุโบสถ หมายถึง วันประชุมของพุทธศาสนิกชนเพื่อปฏิบัติกิจกรรมทางศาสนาในพระพุทธศาสนาประจำสัปดาห์ หรือที่เรียกกันทั่วไปอีกคำหนึ่งว่า
วันมาฆบูชา (บาลี:มาฆปูชา , อักษรโรมัน:Magha Puja , เขมร: មាឃបូជា , ลาว: ມະຄະບູຊາ , สิงหล: නවම් පොහොය) เป็นวันสำคัญของชาวพุทธเถรวาทและวันหยุดราชการในประเทศไทย คำว่ามาฆบูชา ย่อมาจากมาฆปูรณมีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญกลางเดือนมาฆะตามปฏิทินอินเดีย หรือ เดือน ๓ ตามปฏิทินจันทรคติของไทย (ตกช่วงเดือนกุมภาพันธ์หรือมีนาคม) ถ้าปีใดมีเดือนอธิกมาส คือ มีเดือน ๘ สองหน (ปีอธิกมาส) ก็เลื่อนไปทำในวันเพ็ญเดือน ๓ หลัง (วันเพ็ญเดือน ๔)
วันมาฆบูชาได้รับการยกย่องเป็นวันสำคัญทางพุทธศาสนา เนื่องจากเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นเมื่อ ๒,๕๐๐ กว่าปีก่อน คือ พระโคตมพุทธเจ้าทรงแสดงโอวาทปาติโมกข์ ท่ามกลางที่ประชุมมหาสังฆสันนิบาตครั้งใหญ่ในพระพุทธศาสนา ในคัมภีร์ปปัญจสูทนี ระบุว่า ครั้งนั้นมีเหตุการณ์เกิดขึ้นพร้อมกัน ๔ ประการ คือ พระภิกษุ ๑,๒๕๐ รูป ได้มาประชุมพร้อมกันยังวัดเวฬุวัน โดยมิได้นัดหมาย, พระภิกษุทั้งหมดนั้นเป็นเอหิภิกขุอุปสัมปทา หรือผู้ได้รับการอุปสมบทจากพระพุทธเจ้าโดยตรง, พระภิกษุทั้งหมดนั้นล้วนเป็นพระอรหันต์ผู้ทรงอภิญญา ๖ และวันดังกล่าวตรงกับวันเพ็ญเดือน ๓ ดังนั้น จึงเรียกวันนี้อีกอย่างหนึ่งว่าวันจาตุรงคสันนิบาต หรือ วันที่มีการประชุมพร้อมด้วยองค์ ๔
นอกจากนี้แล้ว ในวันดังกล่าวนี้ยังเป็นวันคล้ายวันที่พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร เป็นครั้งสุดท้าย กล่าวคือ ในพรรษาที่ ๔๕ พรรษาสุดท้ายแห่งการดำเนินพุทธกิจ ขณะที่พระพุทธองค์ทรงมีพระชนมายุ ๘๐ พรรษา ทรงประทับจำพรรษาอยู่ที่เวฬุวคาม แขวงเมืองไพศาลี แคว้นวัชชี ในระหว่างพรรษานี้พระพุทธองค์ทรงประชวรอย่างหนัก มีอาการอาพาธอย่างรุนแรง ครั้นถึงวันมาฆบูชา ขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ ปีจอ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงปลงพระชนมายุสังขาร โดยตั้งพระทัยว่า"นับแต่นี้ต่อไปอีกสามเดือน วันเพ็ญในกลางเดือนหก (วิสาขะ) ปีจอ ตถาคตจักดับขันธปรินิพพานที่เมืองกุสินารา"
ด้วยเหตุดังกล่าว การปลงอายุสังขารของพระพุทธองค์ จึงมีความหมายในภาษาสามัญว่า เป็นการกำหนดวันตายไว้ล่วงหน้านั่นเอง การปลงอายุสังขารนี้มีขึ้น ณ ร่มไม้แห่งหนึ่งในปาวาลเจดีย์ บ้านเวฬุวคาม แขวงเมืองไพศาลี (เมืองไวสาลี ในปัจจุบัน) เวลากลางวัน
ปฏิบัติธรรมสืบสานเจตนารมณ์พระเดชพระคุณคุณูปมาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ธ) และรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร โดย ท่าน อ.ลักษณ์ พุทธธรรม (ธ)
นอบน้อม เชิดชู ปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ทุกๆ พระองค์
สถานที่นี้เป็นสถานที่สงบ ฝึกใจ ฝึกตน หากใจยังสกปรกจงกลับไปยังที่ของท่านเถอะ
สถานที่นี้เป็นที่เจริญ มรรคมีองค์ ๘ พรหมวิหาร ๔ เพื่อความหลุดพ้น
สถานที่นี้ ไม่รับเจิม ดูดวง ประกอบพิธีกรรมทางโลกทุกกรณี
๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. เวลาพักผ่อนของท่านอาจารย์ ห้ามรบกวนโดยเด็ดขาด
๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. เวลาที่ศิษยานุศิษย์และญาติธรรม สามารถเข้าพบและสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ได้ตามเหมาะสม
ศาลาภิรมย์ธรรม ๘๕/๑ ม.๓ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๖๐
ห้ามบุคคลภายนอก เข้าเขตหน่อแก้วยามวิกาล ในทุกกรณี
ห้ามศิษยานุศิษย์นำสิ่งเสพติดทุกชนิด เข้ามาภายในหน่อแก้วสถาน