ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง แต่เดิมนั้นเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติลาว ซึ่งรวมถึงประชาชนชาวไทยทางภาคอีสาน ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ฮีตสิบสอง เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่แสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติในแต่ละท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำได้แก่ฮีต หรือจารีต หมายถึงความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และสิบสอง หมายถึงสิบสองเดือน ดังนั้นฮีตสิบสอง จึงหมายถึง ประเพณีที่ชนชาติลาว รวมถึงชาวอีสาน ปฏิบัติสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี เป็นการผสมผสานพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผี พิธีกรรมทางการเกษตร เข้ากับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ล้วนเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในชุมชน ได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อความสมัครสมานสามัคคี รักใคร่ปรองดองกันของคนในท้องถิ่น เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามมาแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน

ฟังเอาเด๊อพี่น้อง ฮีตสิบสองของพ่อแม่ มีมาแต่เก่ากี้ ประเพณีตั้งต่อบุญ แต่ก่อนพุ้น พ่อแม่เฮาทำมา สืบฮอยตาวาฮอยยาย อย่าให้หายรักษาไว้ ความเป็นไทยอิสานของเฮานี้ ประเพณีมีคุณค่า วัฒนธรรมนำพา ปฏิบัติมาตั้งแต่เค้า โบราณเจ้าเผิ่นสั่งสอน...

บุญข้าวประดับดิน หรือ บุญเดือนเก้า เป็นประเพณีที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ เปรตและญาติมิตรที่ตายไปแล้ว

ตามธรรมเนียมประเพณีของอีสาน เมื่อถึงเดือนเก้า จะมีพิธีหรือมีบุญประเพณีเพื่อเป็นสิริมงคลคือ “บุญข้าวประดับดิน

บุญข้าวประดับดิน เป็นประเพณีหนึ่งในฮีตสิบสอง นิยมทำกันในวันแรม ๑๔ ค่ำ เดือนเก้า หรือที่เรียกว่า บุญเดือนเก้า เป็นบุญที่ทำเพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ เปรต (ชาวอีสานบางถิ่นเรียก เผต) และปู่ ย่า ตา ยายหรือญาติมิตรที่ตายไปแล้ว

บุญข้าวสาก หรือฉลากภัตร เป็นประเพณีที่ให้พระเณรทั้งวัดจับสลากเพื่อจะรับปัจจัยไทยทาน ตลอดจนสำรับกับข้าว ที่ญาติโยมนำมาถวาย

คำว่าสาก ในที่นี้มาจากคำว่าฉลาก ในภาษาไทยข้าวสาก หรือฉลากภัตร นี้แต่ละท้องถิ่นทำไม่เหมือนกัน เช่น ในบางท้องถิ่นอาจจะจัดสิ่งของ เครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น สบู่ ยาสีฟัน ยาตำราหลวง มาทำเป็นห่อๆ นำไปถวายพระ ก่อนจะทำพิธีถวายก็จะมีการจับฉลากก่อน ทีนี้พอตนเองจับฉลากได้เป็นชื่อของพระเณรรูปใด ก็นำไปถวายตามนั้น

บุญออกวัดสา หรือบุญออกพรรษา เป็นช่วงที่มีการจัดงานใหญ่กันเกือบตลอดเดือน นิยมถวายผ้าห่มกันหนาวในวันเพ็ญ มีงานบุญตักบาตรเทโวฯ

หลังจากที่พระสงฆ์จำพรรษามา ตลอดระยะเวลา ๓ เดือน ก็ถึงช่วงการออกพรรษา วันออกพรรษาจะตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ ของทุกปี เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันมหาปวารณา คำว่าปวารณา แปลว่าอนุญาต หรือยอมให้

ในวันออกพรรษานี้พระสงฆ์จะประกอบพิธีทำสังฆกรรมใหญ่ เรียกว่ามหาปวารณา เป็นการเปิดโอกาสให้ภิกษุว่ากล่าวตักเตือนกันได้ เพราะในระหว่างเข้าพรรษา พระสงฆ์บางรูปอาจมีข้อบกพร่องที่ต้องแก้ไข การให้ผู้อื่นว่ากล่าวตักเตือนได้ ทำให้ได้รู้ข้อบกพร่องของตน และยังเปิดโอกาสให้ซักถามข้อสงสัยซึ่งกันและกันด้วย

บุญกฐิน นิยมถวายผ้าไตรจีวร ให้แก่พระภิกษุสงฆ์ ๕ รูปขึ้นไป ซึ่งอยู่ในวัดเดียวกัน และเป็นผู้จำพรรษาครบถ้วนไตรมาส (๓ เดือน) โดยไม่ขาดพรรษา

คำว่า กฐิน แปลว่า ไม้สะดึง คือกรอบไม้ชนิดหนึ่งสำหรับขึงผ้าให้ตึง สะดวกแก่การเย็บ ในสมัยโบราณ การเย็บผ้าต้องเอาไม้สะดึงมาขึงผ้าให้ตึงเสียก่อน แล้วจึงเย็บเพราะช่างยังไม่มีความชำนาญเหมือนสมัยปัจจุบันนี้ และเครื่องมือในการเย็บก็ยังไม่เพียงพอ เหมือนจักรเย็บผ้าในปัจจุบัน การทำจีวรในสมัยโบราณจะเป็นผ้ากฐินหรือแม้แต่จีวรอันมิใช่ผ้ากฐิน ภิกษุสงฆ์ร่วมช่วยกันตัดเย็บ เกิดความสามัคคีในหมู่สงฆ์ เช่นตำนานกล่าวไว้ว่า

ข้อควรปฏิบัติ

ปฏิบัติธรรมสืบสานเจตนารมณ์พระเดชพระคุณคุณูปมาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ธ) และรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร โดย ท่าน อ.ลักษณ์ พุทธธรรม (ธ)

นอบน้อม เชิดชู ปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ทุกๆ พระองค์

สถานที่นี้เป็นสถานที่สงบ ฝึกใจ ฝึกตน หากใจยังสกปรกจงกลับไปยังที่ของท่านเถอะ

สถานที่นี้เป็นที่เจริญ มรรคมีองค์ ๘ พรหมวิหาร ๔ เพื่อความหลุดพ้น

สถานที่นี้ ไม่รับเจิม ดูดวง ประกอบพิธีกรรมทางโลกทุกกรณี

ติดต่อเรา

๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. เวลาพักผ่อนของท่านอาจารย์ ห้ามรบกวนโดยเด็ดขาด

๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. เวลาที่ศิษยานุศิษย์และญาติธรรม สามารถเข้าพบและสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ได้ตามเหมาะสม

ศาลาภิรมย์ธรรม ๘๕/๑ ม.๓ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๖๐

norkaewplace@gmail.com

ห้ามบุคคลภายนอก เข้าเขตหน่อแก้วยามวิกาล ในทุกกรณี

ห้ามศิษยานุศิษย์นำสิ่งเสพติดทุกชนิด เข้ามาภายในหน่อแก้วสถาน

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์ อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา