ฮีตสิบสอง

ฮีตสิบสอง แต่เดิมนั้นเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีของชนชาติลาว ซึ่งรวมถึงประชาชนชาวไทยทางภาคอีสาน ที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่อดีตจวบจนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ฮีตสิบสอง เป็นวัฒนธรรมประเพณีที่แสดงถึงความเป็นชาติเก่าแก่และบ่งบอกถึงความเจริญรุ่งเรืองมาอย่างยาวนาน อีกทั้งยังเป็นขนบธรรมเนียมประเพณีดั้งเดิมที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติในแต่ละท้องถิ่น และมีส่วนช่วยให้ชาติดำรงความเป็นชาติของตนอยู่ตลอดไป

ฮีตสิบสอง มาจากคำสองคำได้แก่ฮีต หรือจารีต หมายถึงความประพฤติ ธรรมเนียม ประเพณี ความประพฤติที่ดี และสิบสอง หมายถึงสิบสองเดือน ดังนั้นฮีตสิบสอง จึงหมายถึง ประเพณีที่ชนชาติลาว รวมถึงชาวอีสาน ปฏิบัติสืบต่อกันมาในโอกาสต่างๆ ทั้งสิบสองเดือนของแต่ละปี เป็นการผสมผสานพิธีกรรมที่เกี่ยวกับเรื่องผี พิธีกรรมทางการเกษตร เข้ากับพิธีกรรมทางพุทธศาสนา ล้วนเป็นประเพณีที่ส่งเสริมให้คนในชุมชน ได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันเพื่อความสนุกสนานรื่นเริงและเพื่อความสมัครสมานสามัคคี รักใคร่ปรองดองกันของคนในท้องถิ่น เป็นการสืบทอดวัฒนธรรมประเพณีอันดีงามมาแต่อดีต จวบจนปัจจุบัน

ฟังเอาเด๊อพี่น้อง ฮีตสิบสองของพ่อแม่ มีมาแต่เก่ากี้ ประเพณีตั้งต่อบุญ แต่ก่อนพุ้น พ่อแม่เฮาทำมา สืบฮอยตาวาฮอยยาย อย่าให้หายรักษาไว้ ความเป็นไทยอิสานของเฮานี้ ประเพณีมีคุณค่า วัฒนธรรมนำพา ปฏิบัติมาตั้งแต่เค้า โบราณเจ้าเผิ่นสั่งสอน...

บุญเดือนห้า หรือ บุญฮดสรง ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ โดยถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยในสมัยโบราณ

ตามธรรมเนียมประเพณีของอีสาน เมื่อถึงเดือนห้า จะมีพิธีหรือมีบุญประเพณีเพื่อเป็นสิริมงคลคือ “บุญฮดสรง

บุญเดือนห้า หรือ บุญฮดสรง บ้างก็เรียก บุญรดน้ำ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า บุญสงกรานต์ มีบางจังหวัดที่ใกล้เคียงกับประเทศกัมพูชา จะออกเสียงเรียกวันสงกรานต์ตามภาษาเขมรว่า ตรดสงกรานต์ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำเดือน ๕ โดยถือว่าเป็นวันขึ้นปีใหม่ของไทยในสมัยโบราณ ดังที่ปรากฏในบทผญาเกี่ยวกับบุญเดือนห้าว่า

บุญบั้งไฟ บ้างก็เรียกบุญขอฝน เพราะเป็นการบูชาพระยาแถน หรือเทพวัสสกาลเทพบุตร ซึ่งเชื่อกันว่า มีหน้าที่คอยดูแลให้ฝนตกถูกต้องตามฤดูกาล

ตามธรรมเนียมประเพณีของอีสาน เมื่อถึงเดือนหก จะมีพิธีหรือมีบุญประเพณีเพื่อเป็นสิริมงคลคือบุญบั้งไฟ บางแห่งเรียกบุญวิสาขบูชา บ้างก็เรียกบุญขอฝน โดยจัดกันก่อนฤดูทำนา ด้วยความเชื่อว่าเป็นการขอฝนเพื่อให้ฝนตกต้องตามฤดูกาล ข้าวกล้าในนาข้าวอุดมสมบูรณ์ ดังที่ปรากฏในบทผญาเกี่ยวกับบุญเดือนหกว่า

บุญเดือนเจ็ด หรือ บุญซำฮะ นิยมจัดทำพิธีเลี้ยงตาแฮก ปู่ตา หลักเมือง งานบุญเบิกบ้านเบิกเมือง งานเข้านาคเพื่อบวชนาค

ตามธรรมเนียมประเพณีของอีสาน เมื่อถึงเดือนเจ็ด จะมีพิธีหรือมีบุญประเพณีเพื่อเป็นสิริมงคลคือ “บุญซำฮะ” คำว่า ซำฮะ ก็คือ ชำระ ที่หมายถึง ล้างให้สะอาด

บุญเดือนเจ็ด หรือ บุญซำฮะ บ้างก็เรียก บุญเบิกบ้าน บุญกลางบ้าน บุญคุ้ม เป็นงานบุญที่ชาวอีสานจะจัดงานประเพณีขึ้น มีจุดประสงค์เพื่อ ปัดรังควานและขับไล่เสนียดจัญไร ตลอดถึงเหล่าภูติผีปีศาจหรือสิ่งชั่วร้ายให้ออกไปจากหมู่บ้าน นอกจากเป็นการทำบุญเพื่อชำระล้างสิ่งที่ไม่ดี แล้ว ยังมีการทำพิธีบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลอีกด้วย ดังที่ปรากฏในบทผญาเกี่ยวกับบุญเดือนหกว่า

บุญเดือนแปด คือประเพณีที่ทำในช่วงเข้าพรรษา บ้างก็เรียก บุญเข้าวัดสา ส่วนใหญ่แล้วจะมีการถวายเทียนเข้าพรรษาและถวายผ้าอาบน้ำฝน

เดือน ๘ เป็นเดือนอยู่ในระยะหน้าฝน และเป็นเดือนที่พระอยู่จำพรรษาตลอดสามเดือน ไม่ไปค้างคืนที่อื่น ยกเว้นแต่มีกิจที่จำเป็น บางทีพอที่จะอนุโลมให้ไปค้างคืนที่อื่นได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกิน ๗ วัน ถ้าเกินนั้นถือว่าพรรษาขาด โดยปกติแล้วกำหนดเอาวันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ของปีที่เป็นปกติมาส (๘ หนเดียว) เป็นวันอธิษฐานเข้าพรรษา สำหรับปีที่เป็นอธิกมาสคือ ๘ สองหน กำหนดเอาวันแรม ๑ ค่ำเดือน ๘ หลัง เป็นวันอธิษฐานเข้าพรรษา

ข้อควรปฏิบัติ

ปฏิบัติธรรมสืบสานเจตนารมณ์พระเดชพระคุณคุณูปมาจารย์ ท่านพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต (ธ) และรักษาโรคด้วยพืชสมุนไพร โดย ท่าน อ.ลักษณ์ พุทธธรรม (ธ)

นอบน้อม เชิดชู ปกป้อง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ราชวงศ์ทุกๆ พระองค์

สถานที่นี้เป็นสถานที่สงบ ฝึกใจ ฝึกตน หากใจยังสกปรกจงกลับไปยังที่ของท่านเถอะ

สถานที่นี้เป็นที่เจริญ มรรคมีองค์ ๘ พรหมวิหาร ๔ เพื่อความหลุดพ้น

สถานที่นี้ ไม่รับเจิม ดูดวง ประกอบพิธีกรรมทางโลกทุกกรณี

ติดต่อเรา

๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐ น. เวลาพักผ่อนของท่านอาจารย์ ห้ามรบกวนโดยเด็ดขาด

๑๓.๐๐ - ๑๘.๐๐ น. เวลาที่ศิษยานุศิษย์และญาติธรรม สามารถเข้าพบและสนทนาธรรมกับครูบาอาจารย์ได้ตามเหมาะสม

ศาลาภิรมย์ธรรม ๘๕/๑ ม.๓ ต.โดมประดิษฐ์ อ.น้ำยืน จ.อุบลราชธานี ๓๔๒๖๐

norkaewplace@gmail.com

ห้ามบุคคลภายนอก เข้าเขตหน่อแก้วยามวิกาล ในทุกกรณี

ห้ามศิษยานุศิษย์นำสิ่งเสพติดทุกชนิด เข้ามาภายในหน่อแก้วสถาน

เว็บไซต์นี้จัดทำขึ้นเพื่อเผยแผ่พุทธศาสนา โดยไม่มุ่งหวังผลทางพาณิชย์ อนุญาตให้นำไปเผยแผ่เพื่อสืบต่อพุทธศาสนาได้ตามกุศลเจตนา